---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อนุญาโตตุลาการ ตุลาการ (ความหมาย)

1. ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (อังกฤษ: conciliator) คือ บุคคลที่สามซึ่งคู่กรณีพิพาทตกตลงกันให้เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้เกิด การประนีประนอมยอมความกัน โดยคู่กรณีพิพาทแต่ละฝ่ายต่างยินยอมผ่อนผันข้อเรียกร้องของตน และแต่ละฝ่ายจะได้รับสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแทน ในกระบวนการระงับข้อพิพาทนั้นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีหน้าที่เพียงไกล่ เกลี่ยให้มีการประนีประนอมยอมความกัน ไม่มีอำนาจบังคับหรือตัดสินการใด ๆ ในการเจรจานั้น แต่อาจเสนอแนวทางในการตกลงกันของคู่กรณีพิพาทได้

2. อนุญาโตตุลาการ
(อังกฤษ: arbitrator) คือ บุคคลที่สามซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีพิพาทตกลงกันให้ทำ หน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเรียกว่า "สัญญาอนุญาโตตุลาการ" ในการดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโต ตุลาการจะเปิดโอกาสให้คู่กรณีพิพาทแสดงข้อเรียกร้องและข้อต่อสู้พร้อมทั้งนำ พยานหลักฐานต่าง ๆ มาสืบเพื่อรับฟังข้อเท็จจริง ตลอดจนสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาตามวัน เวลา และสถานที่ตามที่คู่กรณีพิพาทตกลงกันได้ รวมทั้งคู่กรณีพิพาทสามารถตกลงกันกำหนดวิธีพิจารณาโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพื่อใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาแก่ข้อพิพาทได้ และเมื่อรับฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในการดำเนินกระบวนพิจารณาแล้ว อนุญาโตตุลาการจึงมีคำวินิจฉัยข้อพิพาทได้

3. ตุลาการ
(อังกฤษ: justice) หรือผู้พิพากษา (อังกฤษ: judge) คือ ผู้มีหน้าที่ตามที่กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติให้ชี้ขาดข้อพิพาทใด ๆ ด้วยการมีคำสั่งหรือคำพิพากษาคดีที่มาสู่ศาลใน กรณีที่คู่ความไม่อาจตกลงไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทกันได้ นอกจากนี้ ในกรณีพิพาทซึ่งไม่เป็นกรณีอันต้องยื่นต่ออนุญาโตตุลาการตามที่กฎหมายกำหนด และคู่ความได้ยื่นฟ้องศาลแล้ว ตุลาการหรือผู้พิพากษาอาจไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันใน ศาลหรืออาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการในศาลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มาใช้บังคับก็ได้ ตามแต่เห็นสมควร

การอนุญาโตตุลาการ (สรุป)

รายละเอียดขั้นตอน การอนุญาโตตุลาการ (สรุปสาระสำคัญ)
Download คลิกที่นี่

รวมกฎหมาย พระราชบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ อนุญาโตตุลาการ

รวมกฎหมาย พระราชบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ อนุญาโตตุลาการ (E-Book, PDF format)
Download คลิกที่นี่

บัญชี อัตราอากรแสตมป์ สำหรับหนังสือตราสาร

บัญชี อัตราอากรแสตมป์ สำหรับหนังสือตราสารต่างๆ
ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2526
Download คลิกที่นี่

ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ

ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ
Download คลิกที่นี่

การมอบอำนาจ

การมอบอำนาจคือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน หรือการกระทำนั้นมีผลทาง กฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง

การมอบอำนาจเพื่ออะไร- หากบุคคลไม่สามารถไปกระทำการใดๆได้ด้วยตนเอง เช่น การจัดการ จะต้องทำอย่างไร อาจทำหนังสือมอบอำนาจ หรือใบมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลอื่นเป็น “ตัวแทน” ไปกระทำการแทนได้โดย หนังสือมอบอำนาจนี้ให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเก็บไว้เก็บหลักฐาน

การมอบอำนาจทำอย่างไร- การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือ ตัวอย่างเช่น การจัดการเกี่ยวกับที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการมอบอำนาจให้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย โดยจะใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีสาระครบถ้วน แต่เพื่อความสะดวก ควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินโดยผู้นั้นจะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็น หนังสือให้ผู้ไปทำการแทน

ข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจ มีอะไรบ้าง- ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกันถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีด ก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน ถ้ามีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกครั้ง อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจก่อนกรอกข้อความครบถ้วนและถูกต้องตามความประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด และให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน พยานต้องเซ็นชื่อเท่านั้น จะใช้วิธีพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้

เรื่องของผู้รับมอบฉันทะ และผู้รับมอบอำนาจ

ผู้รับมอบฉันทะ และผู้รับมอบอำนาจ มีความเหมือนคือ ผู้รับมอบฯมีอำนาจทำแทนตัวการ

แต่มีความแตกต่างกันคือ ผู้รับมอบฉันทะทำการแทนตัวการได้เฉพาะเรื่องที่ได้รับมอบหมายเป็นคราวๆไป เช่น มอบฉันทะให้มาเลื่อนคดีในวันนี้ก็จะมีอำนาจเฉพาะวันนี้ จะมาเลื่อนวันหลังก็ต้องทำใบมอบฉันทะมาอีก ส่วนมอบอำนาจจะมีอำนาจทำการแทนตัวการตามที่มอบหมายได้จนกว่าจะเสร็จการนั้น

ตัวอย่างการมอบฉันทะ(ดูตามหลักกฏหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64)

"...เว้นแต่ ศาลจะได้สั่ง เป็นอย่างอื่น เมื่อ คดี มีเหตุผลพิเศษ อันเกี่ยวกับ คู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ ทนายความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะ คู่ความ หรือ ทนายความ อาจตั้งแต่ง ให้บุคคลใด ทำการแทนได้ โดยยื่น ใบมอบฉันทะ ต่อศาล ทุกครั้ง เพื่อ กระทำกิจการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดั่งต่อไปนี้คือ กำหนด วันนั่งพิจารณา หรือ วันสืบพยาน หรือ วันฟัง คำสั่ง คำบังคับ หรือ คำชี้ขาดใดๆ ของศาล มาฟัง คำสั่ง คำบังคับ หรือ คำชี้ขาดใดๆ ของศาล หรือ สลักหลัง รับรู้ ซึ่ง ข้อความนั้นๆ รับสำเนา แห่งคำให้การ คำร้อง หรือ เอกสารอื่น ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๗๑ และ ๗๒ และ แสดงการรับรู้ สิ่งเหล่านั้น..."

แนวทางการวิเคราะห์ทางธุรกิจในรูปแบบของ 5 Forces

แนวทางการวิเคราะห์ในแบบธุรกิจ ที่เรียกว่า 5 Forces (การวิเคราะห์อำนาจ หรือ แรงกดดัน จากธุรกิจ)
Download คลิกที่นี่

การแสดงเจตนาของนิติบุคคล

Download คลิกที่นี่

ความรับผิดในทางกฎหมายของผู้บริหารนิติบุคคล

Download คลิกที่นี่

ความหมายของ "สัญญา"

สัญญา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ สัญญาหมายถึง ความตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายว่าจะกระทำ หรือละเว้นการใดอย่างหนึ่ง ,ข้อตกลง,คำมั่น,ความตกลงกัน

ท่าน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช สัญญาหมายถึง ความตกลงที่ก่อให้เกิดหนี้ สาระสำคัญของสัญญามี ๒ ประการคือ ความตกลง (Agreement) และ หนี้ (Obligation) สาระสำคัญทั้งสองประการนี้ต้องอยู่ประกอบกัน จึงเกิดสัญญาขึ้นเป็นสัญญา

กรม หลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สัญญาหมายถึง ความยินยอมทั้งสองฝ่าย ฤามากกว่า ๒ ฝ่าย ในการจำทำ ฤาละเว้นทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ สัญญาหมายถึง สัญญาจะเกิดได้ต้องมีการแสดงเจตนาของบุคคลสองฝ่าย ซึ่งมีเนื้อหาถูกต้องตรงกัน คือ ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำเสนอถูกต้องตรงกับคำเสนอนั้น สัญญาจึงเกิด (ดังนั้นสัญญาจึงเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่นิติกรรมไม่จำป็นต้องเป็นสัญญาเสมอไป)

ศาสตราจารย์จี๊ด เศรษฐบุตร สัญญาหมายถึงนิติกรรมหลายฝ่าย เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ดังนั้นสัญญาจึงเป็นนิติกรรมประเภทหนึ่ง แต่เป็นประเภทที่สำคัญ เพราะก่อหนี้มากกว่านิติกรรมประเภทที่เรียกว่า นิติกรรมฝ่ายเดียว

หัวข้อการสอน LAW 438

นักศึกษา Download File หัวข้อการสอนกระบวนวิชา LAW 438 การเจรจา ฯ (แยกประเภทหัวข้อตามตารางวันสอน)
Download คลิกที่นี่

รูปแบบความร่วมมือของภาคธุรกิจ (บ่อเกิดแห่งสัญญา)

รูปแบบความร่วมมือของภาคธุรกิจ
• พันธมิตรแบบเซ็นสัญญา (Contractual Agreement) เป็น ความร่วมมือระหว่าง 2 องค์กรขึ้นไปที่เซ็นสัญญาเพื่อร่วมมือในกิจกรรมทางธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคโนโลยี การรวมทรัพยากรและทักษะการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เกิดการลดต้นทุน เป็นต้น โดยการทำพันธมิตรแบบนี้สามารถทำได้ในหลายรูปแบบอาทิ ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขายและโฆษณา การวิจัยและพัฒนา การจัดซื้อ ธุรกิจประเภทนี้จะมีความผูกพันกันน้อย เนื่องจากยังคงเป็นองค์กรที่ดำเนินการอย่างอิสระไม่ขึ้นต่อกัน จะร่วมมือกันเฉพาะประเด็นที่ได้มีการตกลงกันไว้ในสัญญาเท่านั้น ตัวอย่างพันธมิตรรูปแบบนี้ อาทิ Star alliances พันธมิตรธุรกิจการบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมมือโดยการเซ็นสัญญากับสายการบินพันธมิตรในการร่วมกันกำหนดเครือข่าย การให้บริการทั่วทุกภูมิภาค หรือกรณีของบริษัท แมคโดนัลด์แถมของเล่นจากบริษัทดิสนีย์ให้กับลูกค้าที่ซื้อแฮมเบอร์เกอร์ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มบำรุงกำลัง “ คาราบาวแดง ” ที่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจได้ตัดสินใจที่จะเป็นพันธมิตรธุรกิจกับบริษัทเสริม สุข จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่ม “ เป๊ปซี่ ” ในการทำแผนการขายร่วมกัน และมีช่องทางการจัดจำหน่ายมากมายที่จะช่วยให้คาราบาวแดงเป็นที่รู้จักและติด ตลาดได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
• พันธมิตรแบบเข้ามาถือหุ้นระหว่างกัน (Minority Equity Agreement) เป็น ลักษณะที่ธุรกิจมีความร่วมมือกันด้านทุนในการประกอบธุรกิจ เช่น การถือหรือแลกเปลี่ยนหุ้นระหว่างกัน การกำหนดราคาหุ้นของบริษัทแล้วให้บริษัทพันธมิตรเข้ามาซื้อหุ้นในราคาต่ำ กว่าราคาตลาด ซึ่งจะทำให้แต่ละบริษัทมีสิทธิในส่วนแบ่งกำไรของบริษัทพันธมิตร เป็นการลดปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ของแต่ละบริษัท และสามารถนำไปสู่ความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น ตลาด เทคโนโลยี การเงิน และการจัดซื้อ เป็นต้น วิธีนี้จะมีความร่วมมือที่เหนียวแน่นมากกว่าการเซ็นสัญญา เนื่องจากมีเรื่องของเงินทุนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
• พันธมิตรแบบธุรกิจร่วมทุน (Joint Venture) จะแตกต่างจากพันธมิตรแบบเข้ามาถือหุ้นระหว่างกัน เพราะพันธมิตรแบบธุรกิจร่วมทุนเป็นการร่วมทุนในการจัดตั้งองค์กรใหม่ร่วมกัน ซึ่งมีการดำเนินงานที่แยกจากธุรกิจหรือองค์กรเดิมที่แต่ละฝ่ายมีอยู่แล้ว เช่น บริษัท A ร่วมทุนกับบริษัท B เพื่อจัดตั้งบริษัท C สำหรับดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามวัตถุประสงค์ร่วมกันระหว่าง A และ B ในการทำธุรกิจร่วมทุนนี้ แต่ละบริษัทพันธมิตรเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารงานของบริษัท C โดยมีการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของแต่ละบริษัทพันธมิตรอย่างชัดเจน ซึ่งขึ้นอยู่กับการต่อรองของแต่ละฝ่าย วิธีการนี้นับได้ว่าได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากมีความคล่องตัว และอิสระทั้งในแง่นโยบายและการดำเนินงาน
• พันธมิตรแบบธุรกิจร่วม (Business Cooperation) เป็นความร่วมมือทางธุรกิจ มีความแตกต่างจากแบบแรกหรือแบบที่เรียกว่า ”แบบเซ็นสัญญา” (Contractual Agreement) กล่าวคือ องค์กรที่มีความร่วมมือกันนั้น เป็นองค์กรที่อยู่ใน ภาคธุรกิจเดียวกัน (SIC/Standard Industrial Code) โดยสามารถทำความร่วมมือได้ สองลักษณะคือ
o Exclusive Agreement สัญญาความร่วมมือโดยการใช้ชื่อเดียวกับองค์กรความร่วมมือหลัก ทั้งนี้ลักษณะความร่วมมือนี้ อำนาจการจัดการส่วนใหญ่ในเรื่องนโยบายจะอยู่ที่บริษัทแม่ ที่เป็นเจ้าของชื่อ ซึ่งในกรณีนี้จะมีลักษณะคล้ายกับความร่วมมือในแบบ “ใบอนุญาต” (Licensing) เพราะผู้ใช้ชื่อบริษัทแม่จะต้องจ่ายค่า อนุญาต ซึ่งเรียกว่า “Loyalty Fee”
o Non-exclusive Agreement เป็นสัญญาความร่วมมือ โดยเป็นเอกเทศจากบริษัทแม่ที่ร่วมมือด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นชื่อในทางการค้าก็ดี ความเป็นอิสระในองค์กรก็ดี อีกนัยหนึ่งคือเป็นคนละองค์กรนั่นเอง

คำว่า "บรรษัท" และคำว่า "บริษัท"

คำว่า "บรรษัท" และคำว่า "บริษัท"

"บรรษัท" ในภาษาอังกฤษคือ "A Public Organization, A Government Agency, A Government-Owned Corporation, หรือ Corporation"
ส่วนคำว่า "บริษัท" หมา่ยถึง "Company Limited" ทั้งสองคำนี้มีความหมายและลักษณะที่คล้ายกัน แต่จะแตกต่างกันในด้านของขนาดขององค์กรทางการค้า ซึ่งในความหมายของขนาดนั้นพอสังเขปออกมาเป็นลักษณะดังต่อไปนี้
- ขนาดของเงินลงทุน (Capital)
- ขนาดของพนักงาน (จำนวน)
- ขนาดของภาคการผลิต หรือ ในธุรกรรมที่หลากหลาย
- ขนาดของตลาด (Distribution)
ฉะนั้นถ้าพูดถึงคำว่า "บรรษัท" ผู้ฟังอาจจะเข้าใจโดยทันทีว่า เป็นองค์กรทางการค้าที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นองค์กรการค้าของต่างชาติ ที่เราเรียกคุ้นกันติดปากว่า "บรรษัทข้ามชาติ" นั่นเอง

บันทึกความเข้าใจ / MOU (Memorandum of Understanding)

จากกองธรรมศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน นฤมล บุญแต่ง นักวรรณศิลป์ 7 ว ให้คำอธิบายว่า บันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอฃยู (MOU-Memorandum Of Understanding) เป็นหนังสือซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด และตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง
โดยที่หนังสือ นี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้ เช่น สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทำบันทึกความเข้าใจกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา

ขณะ ที่ บันทึกข้อตกลง (Memorandum Of Agreement) อันเป็นหนังสือหรือสัญญา ซึ่งมีข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้อง ปฏิบัติหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นข้อกติกา ข้อที่นัดหมายกันไว้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จึงมีใช้ได้ทั้ง 2 คำ แต่จะใช้บันทึกความเข้าใจมากกว่า เช่น MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยกับส่วนราชการ ในการแลกเปลี่ยนวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการฟ้องละเมิดกันจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ในฐานะอาจเป็นสัญญาได้ ส่วนสัญญานั้น นักกฎหมายต่างทราบดีอยู่แล้วว่า

เป็นทางการมากกว่า มีสภาพบังคับ และมีผลตามกฎหมายที่ต้องการให้เป็นไปแต่ละเรื่อง

ใน ทางการทูต บันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู เป็นส่วนหนึ่งของ สนธิสัญญา (treaty) ซึ่งสนธิสัญญาเป็นคำที่มีความหมายทั่วไป โดยอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป อาทิ ความตกลง (agreement) ข้อตกลง (arrangement) บันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding) บันทึกความตกลง (memorandum of agreement) พิธีสาร (protocol) อนุสัญญา (Convention) ฯลฯ อย่างไรก็ดี ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม หากเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ถือเป็นสนธิสัญญาทั้งสิ้น

การเรียกชื่อสนธิสัญญาต่างๆ กัน มีเหตุผลหลายประการ อาทิ เป็นทางปฏิบัติของบางประเทศ หรือกลุ่มประเทศ ที่จะแบ่งกลุ่มสนธิสัญญาตามความสำคัญ หรือเพื่อที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาขั้นตอนการทำสนธิสัญญาในลักษณะที่ แตกต่างกันตามกระบวนการกฎหมายภายใน เช่น หากเรียกชื่อเป็นบันทึกความเข้าใจ ก็อาจไม่จำเป็นต้องเสนอต่อรัฐสภา แต่หากเรียกชื่อว่าสนธิสัญญา หรือความตกลง ต้องผ่านกระบวนการให้ความเห็นชอบของรัฐสภา เป็นต้น ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญน่าจะเป็นเรื่องความสะดวก หรือหลีกเลี่ยงปัญหาการอภิปรายทางการเมือง

สำหรับประเทศไทย ไม่ยึดถือแนวปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น แต่จะพิจารณาเนื้อหาสาระและพันธกรณีที่จะมีขึ้นเป็นสำคัญ

ประเภทของธุรกิจ (จำแนกตามผู้ประกอบการ)

ประเภทของธุรกิจ ซึ่งจำแนกตามตัวผู้ประกอบการ
Download คลิกที่นี่

หลักที่ควรคำนึงถึงในการทำนิติกรรม สัญญา

หลักที่ควรคำนุงถึงในการทำนิติกรรมสัญญา และสิ่งที่สัญญาต้องมี
Download คลิกที่นี่

คำแนะนำในการตอบปัญหากฎหมาย

นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนในสามารถ Download คลิกที่นี่