---------------------------------------------------------------------------------------------------------

สำนักกฎหมาย เป็นอย่างไร?

สำนักกฎหมาย
- สำนักกฎหมายธรรมชาติ
- สำนักกฎหมายบ้านเมือง
- สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์

Download คลิกที่นี่

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

ลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทย

Download คลิกที่นี่

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 และระเบียบสำนักนายก ฯ

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 และระเบียบสำนักนายก ฯ

Download คลิกที่นี่

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

Download คลิกที่นี่

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (รวมฉบับแก้ไข)

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 + ฉบับแก้ไข
Download คลิกที่นี่

Presentation (Power Point LLB102/LAW314)

หลักกฎหมายมหาชน

Download คลิกที่นี่

กฎบัตรสหประชาชาติ

กฎบัตรสหประชาชาติ ค.ศ. 1945

Link : http://law.longdo.com/law/126/sub1

กฎหมายคือ

ความหมายของ "กฎหมาย"
กฎหมายเป็นกฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม และใช้กำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับรัฐ

องค์ ประกอบสำคัญที่ทำให้กฎหมายมีสภาพแตกต่างจากศีลธรรมก็คือ กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ที่มีสภาพบังคับให้ต้องกระทำตาม กฎหมาย หากผู้ใดฝ่าฝืน ตามธรรมดาย่อมต้องโทษ

นิยามของคำว่ากฎหมาย ดังกล่าวข้างต้นได้รับอิทธิพลจาก “สำนักกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law School)” ซึ่งมีเชื่อว่า “กฎหมายนั้นคือคำสั่งของรัฐ” โดย Thomas Hobbes นักปรัชญาเมธีคนสำคัญของสำนักกฎหมายบ้านเมืองได้อธิบายว่า “การอยู่ร่วมกันในสังคมเกิดจาก การที่แต่ละคนมีลักษณะเดียรฉานที่มีการทำร้ายต่อสู้กันตลอดเวลา

ดัง นั้นประชาชนจึงทำสัญญาประชาคมยกอำนาจให้รัฏฐาธิปัตย์ และการมอบอำนาจของเขาเป็นการมอบอำนาจแบบสวามิภักดิ์ คือ มอบอำนาจให้รัฏฐาธิปัตย์โดยเด็ดขาด”

ทั้งนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการศึกษาวิชากฎหมายจากประเทศอังกฤษ จึงได้นำแนวคิดนี้สู่โรงเรียนกฎหมายไทย โดยพระองค์ฯ ได้อธิบายนิยามของกฎหมายไว้ว่า “เราจะต้องระวังอย่าคิดเอากฎหมายไปปนกับความดีความชั่วฤาความยุติธรรม กฎหมายเป็นคำสั่งเป็นแบบที่เราจะต้องประพฤติตาม แต่กฎหมายนั้นบางทีก็จะชั่วได้ ฤาไม่ยุติธรรมก็ได้ ความคิดว่าอะไรดี อะไรชั่วฤา อะไรเป็นยุติธรรม อะไรไม่ยุติธรรม มีบ่อที่จะเกิดขึ้นหลายแห่ง เช่นตามศาสนาต่าง ๆ แต่กฎหมายนั้นเกิดขึ้นได้แห่งเดียว คือจากผู้ปกครองแผ่นดิน ฤาที่ผู้ปกครองแผ่นดินอนุญาตเท่านั้น”

ดัง นั้น สามารถสรุปลักษณะที่สำคัญของกฎหมายตามแนวคิดสำนักกฎหมายบ้านเมืองได้ดังนี้

1. ต้องเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผน (Norm) กล่าวคือ เป็นกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความประพฤติของคนในสังคม ใช้เป็นเครื่องชี้วัดได้ว่าการกระทำอย่างไร ผิดหรือถูก

2. กฎหมายต้องเป็นกฎเกณฑ์ที่มีกระบวนการบังคับใช้ที่เป็นกิจจะลักษณะ คือ มีการกำหนดบทลงโทษ


นอกจากสำนักกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ยังมีสำนักแนวคิดทางกฎหมายอีกหลายสำนักได้ให้คำนิยามของคำว่ากฎหมายไว้ โดยสำนักความคิดทางกฎหมายอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ เช่น


สำนัก กฎหมายธรรมชาติ(School of Natural Law)

แนวคิดนี้เชื่อ ว่า กฎหมายมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ (harmonious with nature) มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างกฎหมาย (Enacted Law) กฎหมายที่ดีต้องไม่ละเมิดกฎของพระเจ้า มีลักษณะคงทนถาวร ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร Cicero นักปรัชญาเมธีสำคัญของสำนักกฎหมายธรรมชาติ เคยกล่าววลีที่เสมือนรากฐานของแนวคิดนี้ว่า "True Law is right reason, harmonious with nature, diffuse among all, constant, eternal..." ดังนั้น การใช้กฎหมายย่อมเป็นไปตามเหตุผลที่เป็นธรรมชาติตามปกติ ผู้มีอำนาจไม่มีสิทธิสร้างความยุติธรรมโดยกฎหมายของตนเองได้
ข้อควรรู้ สำนักกฎหมายบ้านเมืองเกิดขึ้นภายหลังสำนักกฎหมายธรรมชาติ สำนักกฎหมายบ้านเมืองเกิดยุคที่ยุโรปเริ่มจัดทำกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสและ เยอรมัน มีนักปรัชญาหลายท่านปฏิเสธหลักกฎหมายธรรมชาติ และสร้างหลักที่ว่ามนุษย์ต่างหากเป็นผู้สร้างกฎหมายขึ้นบังคับใช้ในสังคม

สำนัก กฎหมายประวัติศาสตร์ (School of History Law)

แนวคิดนี้ เชื่อว่า“กฎหมายคือผลผลิตจากความเป็นไปในทางประวัติศาสตร์” ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สิ่งสำคัญอีกประการคือระบบกฎหมายต้องมีลักษณะกลมกลืนและสอดคล้องกับระบบการ เมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ

สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นควบคู่กับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ไม่ยอมรับหลักที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างกฎหมาย แต่กฎหมายนั้นเกิดขึ้นจาก “จิตใจของประชาชาติ” (Volksgeist) ซึ่งหมายถึงความรู้สึกนึกคิดของชนชาติตั้งแต่ดั้งเดิมเริ่มต้นก่อตั้งชาติ นั้นและวิวัฒนาการไปตามกาลเวลา กฎหมายจึงเป็นผลผลิตจากความเป็นไปในทางประวัติศาสตร์

บรรทัดฐานทางสังคม

บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผนกฎเกณฑ์ข้อบังคับหรือมาตรฐานในการปฏิบัติของคนในสังคม เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ กฎ ระเบียบ แบบแผนความประพฤติต่าง ๆ.

ความสำคัญของบรรทัดฐานต่อการจัด ระเบียบทางสังคม คือ เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมและให้มีความเข้าใจร่วมกัน อันจะทำให้มีการประพฤติปฏิบัติในแนวเดียวกัน

ประเภทของบรรทัดฐานทาง สังคมสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท

1. วิถีชาวบ้านหรือวิถีประชา (Folkways)
เป็นแนวทางปฏิบัติของทุกคนจนเกิดความเคยชินจน กลายเป็นชีวิตปกติของมนุษย์ เป็นการปฏิบัติด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ ไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน เพียงแต่อาจจะถูกตำหนิเยาะเย้ยถากถาง หรือการนินทาจากผู้อื่นทำให้สมาชิกต้องปฏิบัติตามและวิถีประชาอาจจะมีการ เปลี่ยนแปลงได้ เพื่อปรับเหมาะกับยุคสมัยนั้นๆ เช่น มารยามในการแต่งกาย มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นต้น

2.จารีตประเพณี (Morals)
เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกตำหนิ ดูหมิ่นเหยียดหยามจากสังคม เช่น ชายและหญิงต้องเข้าพิธีมงคลสมรสตามประเพณี เป็นต้น จารีตประเพณีต่างกับวิถีประชาเพราะมีศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวด้วย มีข้อห้ามและข้อควรกระทำหากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกสังคมประณามอย่างรุนแรง กฎศีลธรรมมักเป็นข้อห้าม เป็นกฎข้อบังคับ และมีเรื่องของศีลธรรมความรับผิดชอบชั่วดีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมาก

ตัวอย่าง ของกฎศีลธรรมหรือจารีตของไทย เช่น ลูกจะด่าทอ หรือทำร้ายพ่อแม่ไม่ได้

3.กฎหมาย (Laws)
กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่รัฐบัญญัติขึ้นเป็น ลายลักษณ์อักษรโดยองค์การทางการเมืองการปกครองและได้รับการรับรองจากองค์การ ของรัฐ เพื่อควบคุมบุคคลในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับการลงโทษตามกฎหมาย ได้แก่ ระเบียบ ข้อบังคับ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติ หากผู้ใดฝ่าฝืน ตามปกติย่อมถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้

ที่ใดมีสังคม ที่นั่นย่อมมีกฎหมาย (Ubi societas ibi jus)

ที่ใดมีสังคม ที่นั่นย่อมมีกฎหมาย (Ubi societas ibi jus)
สุภาษิตละตินที่กล่าวว่า “ที่ใดมีสังคม ที่นั่นย่อมมีกฎหมาย” ย่อมแสดงนัยยะที่ว่า สังคมย่อมเกิดก่อนกฎหมาย เมื่อไม่มีสังคมก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมาย

กฎหมายถูกสร้างขึ้น เมื่อมนุษย์ได้มีการรวมตัวกันและมีการปฏิสัมพันธ์กันเป็นสังคม กฎหมายจึงเป็นเสมือนหลักเกณฑ์กลางที่ให้ผู้ที่อยู่ในสังคมนั้นยึดถือเป็นแนว ปฏิบัติ อันจะทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสงบสุข ดังคำสุภาษิตละตินที่ว่าที่ไหนมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย (Ubi societus ibi ius)


สังคมคืออะไร

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ.2524 ให้ความหมายของคำว่า สังคม (Society) ดังนี้ สังคมคือ คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน

อีกทั้ง ยังมีนักสังคมวิทยาหลายท่านได้อธิบายความของคำว่าสังคมไว้ ที่น่าสนใจมีดังนี้

สังคมได้แก่พื้นที่ที่มีประชากรซึ่งอยู่ในสปีชี เดียวกัน มีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยกันและเป็นรูปองค์การที่เป็นอิสระจากองค์การ อื่น ๆ

สังคม คือ ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในดินแดนใดดินแดนหนึ่งและมีประเพณี วัฒนธรรมที่เหมือนกัน สังคมเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนที่มีการกระทำระหว่างกันต่อกันภายในพื้นที่ ใดพื้นที่หนึ่งและมีวัฒนธรรมอันหนึ่งร่วมกัน

ไม่ว่าคำว่า สังคม จะถูกนิยามให้ความหมายอย่างไร สังคมยังคงประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ ดังนี้

1.ภายในสังคมมีวัฒนธรรม มีภาษา วิถีชีวิต และความเชื่ออย่างเดียวกัน การที่อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมเดียวกันนั้นทำให้มีการพัฒนาไปสู่การสร้าง เอกลักษณ์ (เช่น ภาษา การแต่งกาย มารยาทและศาสนา ฯลฯ) ที่มีความแตกต่างจากสังคมอื่น

2.สังคมเกิดจากการรวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งสามารถเลี้ยงดูตนเอง มีการประกอบอาชีพและประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้เป็นของตนเองได้

3.มีบรรทัดฐานทางสังคม ระเบียบกฎเกณฑ์ (เช่น กฎหมาย ข้อบังคับ) ในการควบคุมสมาชิก เพื่อทำให้สังคมเกิดความสงบสุข
เมื่อมีการอยู่ร่วม กันจึงมีการปฏิสัมพันธ์ ติดต่อกัน ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปโดยความราบรื่น แต่ท้ายที่สุด คนยังไงก็คือคนวันยังค่ำ คนในความหมายของทางศาสนา หมายถึงอะไรที่มีความวุ่นวาย ไม่ลงรอย เช่นนี้ การติดต่อในบางครั้งจึงไม่ได้เป็นไปโดยราบรื่นเกิดข้อพิพาทโต้แย้งระหว่าง กัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างคน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าตัวเองถูก แล้วอะไรจะเป็นที่ยุติว่า สิ่งนี้ถูก หรือ สิ่งนี้ผิด คำตอบก็คือ บรรทัดฐานทางสังคมนั่นเอง

ลำดับ ศักดิ์กฎหมาย

กฎหมายมีลำดับศักดิ์สูงต่ำเสมือนสายบัญชาการ โดยกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าย่อมเสมือนเป็นบ่อเกิดของอำนาจในกฎหมาย ลำดับรองลงมา โดยที่

1. กฎหมายที่ลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้ง จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าไม่ได้

2. กฎหมาย ที่ลำดับศักดิ์เท่ากันสามารถขัดหรือแย้ง แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากันได้ ทั้งนี้การขัดหรือแย้งกันของกฎหมายให้ถือเอากฎหมายฉบับล่าสุดมีผลบังคับใช้

3. กฎหมาย ที่ลำดับศักดิ์สูงกว่าสามารถยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม หรือขัดแย้งกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าได้ โดยกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่ามีอันตกไป ถ้าขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า

ลำดับศักดิ์กฎหมาย สามารถเรียงได้ดังนี้

1.รัฐธรรมนูญ( เรียกว่ารัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่มีคำว่ากฎหมายขึ้นหน้ารัฐธรรมนูญ )
คือกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งได้กำหนดการจัดระบบการปกครองของประเทศ และรับรองสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนหรือพลเมืองเอาไว้ อาจกล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายต่างๆที่บัญญัติขึ้นต้องใช้รัฐธรรมนูญเป็นกรอบหรือแนวทาง นั่นหมายความว่าการพัฒนาการของรัฐจะต้องเป็นไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐ ธรรมนูญ
เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ดังนั้น กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ กฎหมายใดที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญถือว่าใช้ไม่ได้ หรือไม่มีผลบังคับใช้

2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญคือกฎหมายที่เป็นเรื่องสำคัญของรัฐธรรมนูญแต่ไม่ สามารถบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจึงต่างออกไปจากพระราชบัญญัติทั่วไปเนื่องจาก เป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญให้ความสำคัญและไม่สามารถบัญญัติรายละเอียด ในประเทศฝรั่งเศส พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลำดับศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป (แต่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ) เนื่องจากมีกระบวนการตราที่ต่างออกไป ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ได้วางหลักการเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลำดับศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติ ทั่วไป

ข้อสังเกต ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 นั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกับพระราชบัญญัติทั่วไปมีลำดับศักดิ์เท่ากัน เนื่องจากมีกระบวนการตราที่เหมือนกัน สามารถดูรายละเอียดและศึกษาเพิ่มเติมที่ คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ 2-5/2550

3.พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด (อยู่ลำดับเดียวกัน)

3.1.การตราพระราชบัญญัติ
ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา โดยต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา

1.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาโดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ คือ
วาระที่ 1 รับหลักการ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเฉพาะ หลักการของร่างพระราชบัญญัติว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง มีความเหมาะสม จำเป็นหรือไม่ โดยไม่พิจารณารายละเอียดอื่น ๆ แล้วลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ถ้าไม่รับหลักการก็ตกไป ถ้ารับหลักการก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณารายละเอียด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนมีสิทธิเสนอขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ต่อประธานคณะกรรมาธิการ เรียกว่า แปรญัตติ
วาระที่ 2 แปรญัตติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ที่มีการขอแปรญัตติ และลงมติเฉพาะมาตรานั้นว่าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ หรือคงไว้ตามเดิม
วาระที่ 3 ลงมติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมใด ๆ อีกไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชอบก็ตกไป ถ้าเห็นชอบด้วยก็ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
2.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมา โดยแบ่งออกเป็น 3วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร และโดยปกติแล้วจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน
ถ้าวุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไป ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิม ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความ เห็นชอบจากรัฐสภา

การตราร่างพระราชบัญญัติ
เมื่อร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการร่างพระราชบัญญัติที่พระ มหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยีนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้นายรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้า ฯ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

ข้อ สังเกต: ประมวลกฎหมายคืออะไร
ประมวลกฎหมายคือการรวบรวมกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ตราขึ้นใช้บังคับ มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกัน คล้ายกันหรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มีจำนวนหลายฉบับ จึงได้รวบรวมกฎหมายเหล่านี้ มาจัดเป็นหมวดหมู่ เป็นเรื่องเดียวกัน มีข้อความหรือบทบัญญัติเกี่ยวเนื่องต่อกันอย่างเป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการนำมาศึกษา ค้นคว้า นำมาใช้นำมาปรับปรุงแก้ไข ง่ายต่อการตีความวินิจฉัยในการตัดสินคดีความ

3.2.การตราพระ ราชกำหนด (พ.ร.ก.)
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจบริหาร ให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ การตราพระราชกำหนดในกรณีดังกล่าว ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบ ด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
แต่คณะรัฐมนตรีต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า (เพราะสถานะที่แท้จริงของพระราชกำหนดคือพระราชบัญญัติ ดังนั้นกระบวนการตรากฎหมายดังกล่าวต้องผ่านองค์กรที่มีอำนาจเท่านั้น นั่นก็คือรัฐสภา) ดังนั้นต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาผู้แทนฯ อีกครั้ง เพื่อให้สภาผู้แทนฯ พิจารณาว่าจะอนุมัติพระราชกำหนดให้มีผลบังคับได้เทียบเท่าพระราชบัญญัติต่อ ไปหรือไม่ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือ สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการ อนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มี อยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนด นั้น
ข้อสังเกต
ตามมาตรา 185 รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2550 ได้วางหลักการว่า การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลจะต้องถูกตรวจสอบโดยเคร่งครัดจากศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่ตามอำเภอใจของรัฐบาลอีกต่อไป ซึ่งมีสาระดังนี้
ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนดใด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกำหนด นั้นไม่มีกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่เป็นกรณีที่รัฐบาลต้องการตราพระราชกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของ รัฐสภา ประธานแห่งสภานั้นส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับความเห็นเพื่อวินิจฉัย
หากศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญทั้งหมด เห็นว่าพระราชกำหนดดังกล่าวนั้น รัฐบาลต้องการตราพระราชกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของรัฐสภาจริง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น

4.พระราชกฤษฎีกา
คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและมีนายก รัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยแบ่งเป็น 2ประเภท
ประเภทแรกคือพระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดเนื้อหาของกฎหมายในราย ละเอียด พระราชกฤษฎีกาในลักษณะนี้จะออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือพระราช กำหนด เช่น พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสหการซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เป็นต้น
พระราชกฤษฎีกาอีกประเภทหนึ่ง คือ พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะเป็นพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดระเบียบการบริหารราชการหรือแบบพิธี บางอย่าง หรือเรื่องที่สำคัญบางเรื่องตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

5.กฎกระทรวง
คือ กฎหมายลูกบทที่ออกโดยรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร)ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บท(พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกา)

6.กฎหมายองค์การบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบังคับตำบล เป็นต้น