---------------------------------------------------------------------------------------------------------

สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง

สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ก่อให้เกิด "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" (ไม่ต้องขึ้นศาลไทย ในกรณีที่เกิดความผิดขึ้นของคนต่างชาติ)
Download คลิกที่นี่ (Adobe Acrobat File Format/PDF)

ลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชน (LAW 314/LLB 102)

(Article) บทความโดย อ. เชฎฐ "ลักษณะของความเป็นกฎหมายมหาชน" (ประกอบการบรรยาย)
Download คลิกที่นี่

Power Point ประกอบการบรรยาย กฎหมายระหว่างประเทศ (กฎหมายอากาศ) 13 กรกฎาคม 2553

Re-Upload ใหม่ (เป็น File Version Power point 2003)
Download คลิกที่นี่

ข้อแนะนำ ใช้หน้าที่สองเป็นเกณฑ์ ในการเชื่อมต่อรายละเอียดหัวข้อย่อย (ใช้ Slide Show)

Power Point ประกอบการบรรยาย กฎหมายระหว่างประเทศ (กฎหมายอากาศ) 13 กรกฎาคม 2553

Download คลิกที่นี่
Re-Upload

เอกสาร Power Point (Show Only) ประกอบการบรรยาย เรื่องกฎหมายอากาศ

Download คลิกที่นี่

หนังสือคำศัพท์ ของกฎหมายระหว่างประเทศ และการต่างประเทศ

Download คลิกที่นี่

ขั้นตอนการทำสนธิสัญญา (Vienna Convention 1969)

ขั้นตอนการทำสนธิสัญญา (อย่างละเอียด) ตามอนุสัญญาเวียนนา ว่าด้วยสนธิสัญญา ค.ศ. 1969
Download คลิกที่นี่

ข้อสงวน การเปลี่ยนแปลง การตีความ และความผูกพันของสนธิสัญญา

การตั้งเงื่อนไขในสนธิสัญญา (Reservation)

Reservation หมายถึง ข้อสงวน ซึ่งถ้อยแถลงฝ่ายเดียวที่รัฐกระทำขณะลงนามให้สัตยาบัน หรือยอมรับ หรือรับรอง หรือทำภาคยานุวัติ โดยแสดงว่าต้องการระงับหรือเปลี่ยนแปลงผลทางกฎหมายบางอย่างของสนธิสัญญาในส่วนที่ใช้กับรัฐนั้น

ในสนธิสัญญาพหุภาคี บางครั้งจะเปิดโอกาสให้ประเทศที่ประสงค์จะเข้าเป็นภาคี ให้ความยินยอมเข้าผูกพันตามสนธิสัญญาโดยมีเงื่อนไขได้ โดยทำข้อสงวนว่าจะไม่ผูกพันตามข้อบทหนึ่งข้อบทใด หรือการทำ Reservation หรือคำแถลงตีความ หรือคำอธิบายข้อบทนั้นตามความเข้าใจของตน เพื่ออำนวยให้ประเทศที่ยังไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติตามพันธกรณีทั้งหมดในสนธิสัญญาพหุภาคี สามารถเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไปพลางก่อน แล้วปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตนไม่ได้ตั้งข้อสงวนไว้ และเมื่อใดที่มีความพร้อมในการปฏิบัติตามพันธกรณีทั้งหมดในสนธิสัญญาแล้ว ก็สามารถแจ้งแก้ไข หรือยกเลิกเพิกถอนข้อสงวนที่ตนทำไว้ได้ ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่า ข้อสงวนหรือคำแถลงดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของสนธิสัญญา

การยอมรับและการคัดค้านข้อสงวน

ถ้าสนธิสัญญากำหนดให้ตั้งข้อสงวนได้ก็ไม่ต้องใให้รัฐอื่นยอมรับ
ถ้ารัฐที่ร่วมเจรจามีจำนวนจำกัด หรือถ้าสนธิสัญญามีวัตถุประสงค์ใช้บังคับโดยครบถ้วน ข้อสงวนจะมีผลเมื่อภาคีอื่นๆ ยอมรับด้วย
ถ้าสนธิสัญญาเป็นเอกสารสำคัญในการก่อตั้งและดำเนินการขององค์การระหว่างประเทศ ต้องให้องค์การระหว่างประเทศยอมรับ
ผลทางกฎหมายของการตั้งข้อสงวน

จะถือว่ารัฐที่ยอมรับการตั้งข้อสงวนยอมแก้ไขบทบัญญัติของสนธิสัญญาด้วย ซึ่งก็คือเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข้อสงวนเท่านั้น


การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญา มีหลักการดังนี้

จะต้องแจ้งข้อเสนอแก้ไขสนธิสัญญาให้ภาคีทุกรัฐรับทราบเพื่อตัดสินใจ
ทุกรัฐภาคีสนธิสัญญาฉบับเดิมมีสิทธิเป็นภาคีสนธิสัญญาที่มีการแก้ไขด้วย ในกรณีที่จะเปลี่ยนสนธิสัญญา
ไม่มีผลผูกพันรัฐที่เป็นภาคีสนธิสัญญาีแต่ไม่ได้เป็นภาคีในความตกลงที่แก้ไข
รัฐที่เข้าร่วมเป็นภาคีภายหลังจากที่มีการแก้ไขข้อตกลงใหม่ จะต้องเป็นภาคีฉบับที่แก้ไขและเป็นภาคีสนธิสัญญาฉบับเดิมด้วยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐที่ไม่ยอมรับข้อผูกพันตามสนธิสัญญาที่แก้ไขใหม่

การตีความสนธิสัญญา

วัตถุประสงค์ของการตีความสนธิสัญญา ก็คือ กำหนดความหมายที่แท้จริงตามความเข้าใจและความต้องการตั้งแต่แรกเริ่มของภาคี โดยแนวคิดทั่วไปที่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับการตีความสนธิสัญญานั้นก็คือ จะถือว่าสนธิสัญญาถูกสร้างมาเพื่อให้มีผลปฏิบัติได้ การตีความจะต้องทำโดยสุจริตให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญา

การตกลงตีความระหว่างภาคี

เมื่อได้สรุปผลก็มักจะทำเป็นพิธีสารหรือเป็นหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างกัน การตีความนั้นอาจจะเป็นการตีความโดยฝ่ายที่ 3 ก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็นศาล องค์กรระหว่างประเทศ หรือคณะอนุญาโตตุลาการ

หลักการทั่วไปในการตีความสนธิสัญญา

การตีความตามอักษรและเจตนารมณ์ของภาคี
การตีความตามหลักวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายของสนธิสัญญา
การตีความตามหลักเหตุผลและความสอดคล้องของถ้อยคำและเนื้อหา
การตีความตามความเป็นมาของนธิสัญญา
การตีความตามหลักประสิทธิผล

ความผูกพันของสนธิสัญญา



ผลต่อรัฐภาคีเมื่อยอมรับสนธิสัญญาแล้ว รัฐมีหน้าที่ต่างๆ เพื่อให้สนธิสัญญามีผลบังคับใช้สมบูรณ์ ดังนี้

การดำเนินการด้านนิติบัญญัติ ประเทศที่ถือหลักว่าสนธิสัญญาคือกฎหมายของรัฐ หรือเหนือกว่ากฎหมายของรัฐ หรือที่เรียกกันว่า "ทฤษฎีเอกนิยม" ไม่ต้องดำเนินการใดเพราะถือว่าสนธิสัญญามีผลบังคับใช้ทันที ส่วนประเทศที่ถือหลัก "ทฤษฎีทวินิยม" (dualism) เช่นประเทศไทย ต้องมีการดำเนินการภายในอีกครั้ง เพื่อให้เกิดผลตามกฎหมายภายใน เช่นอาจจะมีการออกกฎหมายหรือพระราชบัญญัติออกมาเพื่อรองรับก่อนที่จะลงนามรับรองอนุสัญญาต่างๆ
การดำเนินการด้านบริหาร ฝ่ายบริหารจะต้องดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกาศหรือลงพิมพ์ในหนังสือราชการเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนได้รับทราบ
การดำเนินการด้านตุลาการ หมายความว่า ในการใช้กฎหมายหรือการตีความกฎหมายโดยตุลาการนั้นต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญาด้วย
ผลต่อรัฐที่ 3

สนธิสัญญาไม่อาจก่อพันธะหรือสิทธิใดๆ แก่รัฐที่ 3 ได้ หากรัฐที่ 3 ไม่ยินยอม ซึ่งการยินยอมโดยการแสดงออกอย่างเปิดเผย สนธิสัญญาอาจให้พันธะและสิทธิแก่รัฐที่ 3 ได้โดย

สนธิสัญญาอาจกำหนดพันธะแก่รัฐที่ 3 หากภาคีมุ่งให้เป็นเช่นนั้น และรัฐที่ 3 ยอมรับพันธะเป็นลายลักษณ์อักษร ในการล้มเลิกหรือเปลี่ยนแปลงพันธะจะกระทำได้ต่อเมื่อรัฐที่ 3 และภาคี ยินยอม
ภาคีในสนธิสัญญาอาจกำหนดให้แก่รัฐที่ 3 และรัฐที่ 3 ยอมรับ ก็คือการไม่แสดงออกในทางตรงกันข้ามนั่นเอง

การทำสนธิสัญญา และการให้สัตยาบัน (Ratification)

ขั้นตอนในการทำสนธิสัญญา

การเจรจา คือตัวแทนหรือหน่วยงานซึ่งรัฐมอบหมายให้ทำหน้าที่เจรจา โดยจะต้องมีการรับรองของตัวแทนด้วย ยกเว้นผู้เจรจาที่มีตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญในประเทศ หรือปรากฎจากทางการปฏิบัติของรัฐที่เกี่ยวข้องจากสถานการณ์อื่นว่ารัฐตั้งใจให้บุคคลนั้นเป็นตัวแทนของรัฐ และสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องแสดงหลักฐาน ผู้ที่ได้รับการยกเว้นให้ถือว่ามีอำนาจเต็มที่ในการเจรจาโดยไม่ต้องแสดงหลักฐาน ก็คือผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ทางการอยู่แล้ว มีความสามารถโดยตำแหน่งอย่างเป็นทางการในการเจรจา ได้แก่ ประมุขของรัฐหรือประมุขของรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต
การยอมรับชั่วคราว หลังจากมีการพิสูจน์ตรวจหลักฐานการมอบอำนาจเต็มแล้ว การปรึกษาหารือก็เริ่มต้นขึ้น ถ้าเป็นการทำสนธิสัญญาทวิภาคีก็จัดประชุมทั้ง 2 ฝ่าย แต่ถ้าทำสนธิสัญญาพหุภาคีก็จัดประชุมทางการทูต การยอมรับชั่วคราวเป็นการยืนยันว่า ข้อความตัวสนธิสัญญานั้นเป็นข้อความที่ถูกต้อง

สำหรับ การลงนาม จะเกิิดขึ้นเมื่อผลของการเจรจายุติลง จะมีการร่างสนธิสัญญาขึ้นแล้วมีการรับรองหรือยอมรับชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นการยืนยันโดยรัฐนั้นว่าข้อความที่ปรากฎในสนธิสัญญาเป็นข้อความที่ถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้ในการประชุม แม้การลงนามในสนธิสัญญาจะเป็นเพียงการยอมรับดังกล่าว ซึ่งยังคงไม่มีผลผูกพันต่อรัฐอย่างใดทั้งสิ้น แต่ในทางการปฏิบัติ การลงนามก่อให้เกิดผลผูกพันบางส่วนแล้ว

การลงนามเพื่อการยอมรับชั่วคราวอาจจะเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจก็ได้ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการลงนาม ได้แก่ การที่ผู้ลงนามขาดอำนาจในการลงนาม และการที่ผู้ลงนามใช้อำนาจเกินขอบเขต
การยอมรับขั้นสุดท้าย เป็นการแสดงเจตนาของรัฐที่รับข้อผูกพันและปฏิบัติตามพันธะที่ปรากฎในสัญญาการลงนาม ในฐานะที่เป็นการยอมรับขั้นสุดท้าย จะมีผลก็ต่อเมื่ือไม่มีข้อกำหนดว่าสนธิสัญญาต้องได้รับสัตยาบัน สนองรับ หรือให้ความเห็นชอบ และจะมีการแลกเปลี่ยนเอกสารโดยมีข้อตกลงว่า มีผลผูกพันเมื่อแลกเปลี่ยนเอกสาร หากมีการแลกเปลี่ยนเอกสารก็ไม่จำเป็นต้องให้สัตยาบัน

สำหรับ การให้สัตยาบัน โดยทั่วไปเป็นการยอมรับขั้นสุดท้ายสำหรับสนธิสัญญาสำคัญ มักกระทำโดยการให้สัตยาบัน ซึ่งทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้

สนธิสัญญญาระบุให้รัฐแสดงความยินยอม โดยให้สัตยาบัน
มีการกำหนดไว้โดยวิธีอื่น ว่ารัฐที่เข้าร่วมเจรจาตกลงให้มีการให้สัตยาบัน
ผู้แทนของรัฐได้ลงนามในสนธิสัญญาที่ต้องการมีการให้สัตยาบัน
รัฐผู้ลงนามในสนธิสัญญาแสดงเจตนาให้ปรากฎในหนังสือมอบอำนาจเต็ม หรือแสดงเจตนาในระหว่างการเจรจา
กระบวนการให้สัตยาบัน เป็นแนวทางปฏิบัติซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญและแนวทางปฏิบัติในรัฐธรรมนูญของรัฐในแต่ละรัฐ

การไม่ยอมใหสัตยาบันในสนธิสัญญาและการให้สัตยาบันล่าช้า ตามหลักการแล้วสนธิสัญญาซึ่งไม่ได้รับสัตยาบันจะไม่มีผลตามกฎหมายจนกว่าจะได้รับสัตยาบัน ยกเว้นกรณีที่สนธิสัญญามีผลทันทีที่ลงนาม มีบางกรณีที่หลังจากที่รัฐบาลทบทวนดูแล้วไม่ยอมรับสนธิสัญญา เรื่องนี้แนวทางปฏิบัติของแต่ละรัฐจะแตกต่างกันไป เช่น สหรัฐฯ เมื่อสภาซีเนทปฏิเสธประธานาธิบดีก็ให้สัตยาบันไม่ได้

กระบวนการภายหลังการให้สัตยาบันสนธิสัญญา

การจดทะเบียนสนธิสัญญา โดยต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นการรวบรวมความตกลงระหว่างประเทศไว้เป็นหลักฐาน และป้องกันการทำสนธิสัญญาลับระหว่างประเทศ


การประกาศหรือจัดพิมพ์เผยแพร่สนธิสัญญา การประกาศยอมรับการพิจารณาคดีโดยบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือการตกลงฝ่ายเดียวที่มีผลระหว่างประเทศ คำประกาศเหล่านี้จะถูกนำมาจดทะเบียนกับสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และสำนักงานเลขาฯ ก็จะจัดพิมพ์เผยแพร่สนธิสัญญาต่างๆ ในชุดสนธิสัญญาสหประชาชาติ


การเก็บรักษาและดูแลสนธิสัญญา เมื่อตกลงทำสนธิสัญญา ก็จะมีการตั้งฝ่ายเก็บรักษาและดูแลสนธิสัญญา ผู้ดูแลจะเป็นรัฐใดรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐ หรืออาจจะเป็นองค์กรระหว่างประเทศก็ได้

ความเป็นมา ความหมาย และประเภทของสนธิสัญญา (Vienna Convention on the Law of Treaties 1969)

ความเป็นมาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา

กฎหมายว่าด้วยสนธิสัญญาเกิดจากแนวทางการปฏิบัติของรัฐเกี่ยวกับการจัดทำความตกลง ข้อตกลง และการเคารพข้อตกลงระหว่างกัน แนวทางปฏิบัตินี้ใช้กันแพร่หลายจนกลายเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (customary international law) และต่อมาได้มีการประมวลขึ้นเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969 ซึ่งมีลักษณะเป็นความตกลงระหว่างประเทศในรูปแปลายลักษณ์อักษร กระทำขึ้นโดยรัฐ และอยู่ในขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันกฎหมายจารีตประเพณีอื่นๆ ที่มิได้ระบุในอนุสัญญานี้ยังคงถือว่ามีผลใช้บังคับ


ความหมายของสนธิสัญญา

โดยทั่วไป สนธิสัญญา หมายถึง ความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมุ่งก่อให้เกิดสิทธิและพันธะทางกฎหมายแก่ภาคีของสนธิสัญญา และมักลงนามโดยประมุขของรัฐ (head of state) หรือประมุขของรัฐบาล (head of government) โดยมีการแปลต้นฉบับและมีการให้สัตยาบันสนธิสัญญาหรือการทำภาคยานุวัติ (accession) ระหว่างกัน


ประเภทของสนธิสัญญา

พิจารณาจากจำนวนประเทศที่เป็นภาคี (ประเทศคู่สัญญา)
สนธิสัญญาทวิภาคี (Bilateral treaty) หมายถึง สนธิสัญญาสองฝ่าย หรือสนธิสัญญาที่มีคู่ภาคี 2 ฝ่าย
สนธิสัญญาพหุภาคี (Mutilateral treaty) หมายถึง สนธิสัญญาที่มีผู้เข้าร่วมเจราจาหรือร่วมลงนามมากกว่า 2 ฝ่ายขึ้นไป

พิจารณาจากฐานะของผู้เข้าร่วมการทำสนธิสัญญา สนธิสัญญาที่ทำโดยประมุขของรัฐ ถือเป็นอัครภาคีผู้ทำสัญญา
สนธิสัญญาที่ทำโดยรัฐบาล เป็นสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาล
สนธิสัญญาที่ทำโดยรัฐ เป็นสนธิสัญญาที่มุ่งให้เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐ
สนธิสัญญาที่ทำโดยรัฐมนตรี
สนธิสัญญาที่ทำโดยหน่วยงานของรัฐบาล
สนธิสัญญาที่ทำโดยประมุขของรัฐบาล

พิจารณาจากชื่อที่ใช้เรียก สนธิสัญญา (Treaty) เป็นข้อตกลงสำคัญเป็นทางการที่กระทำโดยรัฐ มักเป็นความตกลงทางการเมือง
อนุสัญญา (Convention) ปกติใช้กับเอกสารทางความตกลงทางการที่มีลักษณะเป็นพหุภาคี หรือเอกสารความตกลงที่ร่างขึ้นโดยองค์การของสถาบันระหว่างประเทศ
พิธีสาร (protocal) เป็นความตกลงที่มีลักษณะเป็นทางการน้อยกว่าสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา และไม่ใช่ความตกลงที่กระทำโดยประมุขของรัฐ
ความตกลง (agreement) เป็นเอกสารที่มีลักษณะเป็นทางการน้อยกว่าสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา และไม่ได้กระทำโดยประมุขของรัฐ ปกติเราใช้ความตกลงในลักษณะที่มีขอบเขตจำกัด หรือมีลักษณะไม่ถาวร และมีภาคีน้อยกว่าภาคีในอนุสัญญาตามปกติ
บันทึกหรือหนังสือแลกเปลี่ยน เป็นวิธีที่ไม่เป็นทางการ โดยรัฐอาจจะแสดงเจตนารมณ์ว่ายอมรับพันธกรณีบางอย่าง
ข้อตกลง (arrangement) ใช้เรื่องความตกลงที่มีลักษณะชั่วคราวหรือเฉพาะกาล


ภาคีในสนธิสัญญาและรัฐที่ 3


ภาคีในสนธิสัญญา หมายถึง ผู้ที่เข้าร่วมการเจรจา ตกลง และลงนาม หรือให้สัตยาบันสนธิสัญญา ซึ่งเป็นการยอมรับพันธกรณีตามสนธิสัญญา โดยหลักการทั่วไป สนธิสัญญา่จะก่อการผูกพันหรือให้สิทธิแก่ฝ่ายที่ 3 โดยปราศจากความยินยอมของฝ่ายนั้นไม่ได้ ยกเว้น

สนธิสัญญาซึ่งภาคีตั้งใจให้สิทธิแก่รัฐที่ 3
สนธิสัญญาพหุภาคีซึ่งเป็นการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
สนธิสัญญาพหุภาคีที่สร้างกฎเกณฑ์ใหม่ๆ แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ
สนธิสัญญาพหุภาคีที่มุ่งให้ใช้ปฏิบัติทั่วไป
สนธิสัญญาซึ่งภาคีมุ่งให้เกิดพันธกรณีแก่รัฐที่ 3 โดยทั่วไป

ลักษณะเฉพาะของสนธิสัญญา ตามความหมายของ Vienna Convention on the Law of Treaties 1969

ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969 บัญญัติไว้ว่า สนธิสัญญา เป็นคำที่มีความหมายโดยทั่วไป (generic term) ไม่เฉพาะเจาะจง หมายความว่า สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบุคคลระหว่างประเทศ (รัฐ รัฐบาล และองค์การระหว่างประเทศ) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและพันธกรณีระหว่างกันภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ

สนธิสัญญาและความตกลงมักจะเป็นคำที่ใช้สลับหรือแทนกันได้ในความเข้าใจของบุคคลทั่วไป แต่ในทางของกฎหมายแล้ว การที่จะพิจารณาว่าตราสารระหว่างประเทศใดเป็นสนธิสัญญาหรือไม่ เราจะพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของสนธิสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนา สรุปได้ดังนี้

ผู้ทำสนธิสัญญาต้องเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ รัฐ รัฐบาล และองค์กรระหว่างประเทศ ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลตามกฎหมายภายในประเทศ ซึ่งบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศได้
สนธิสัญญาต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีการแสดงเจตนาและข้อผูกพันเรียบร้อย การกล่าวด้วยปากเปล่าไม่ถือเป็นสนธิสัญญา
ตราสารต้องก่อให้เกิดสิทธิและพันธกรณีระหว่างประเทศขึ้น ถ้าเป็นแค่ตราสารแสดงนโยบายไม่วาจะมีการลงนามหรือไม่ก็ตามไม่ถือเป็นสนธิสัญญา
สนธิสัญญาอาจเรียกชื่อว่าอะไรก็ได้ และอาจจะอยู่ในตราสารฉบับเดียว หรือหลายฉบับก็ได้ เช่นอาจจะมีการทำหนังสือแลกเปลี่ยนกัน เป็นจดหมายไปถึงประเทศหนึ่งว่าเราขอเสนออย่างนี้แล้วเขาก็ตอบกลับมา นี่ก็ถือเป็นสนธิสัญญาเหมือนกันซึ่งต้องพิจารณาจากเนื้อหาภายในตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

หากจะเปรียบเทียบกับสัญญาตามกฎหมายภายใน สัญญา หมายความว่า สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน ซึ่งตามกฎหมายไทย สัญญาอาจจะไม่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ แต่ก็มีสัญญาบางประเภทที่ต้อง ทำเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่บัญญัติเอาไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

สนธิสัญญา (Treaties)

ตามกฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญา หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างรัฐ หรือกับองค์การระหว่างประเทศ เป็นลายลักษณ์อักษร และอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตราสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับประกอบกัน และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม

ดู "อนุสัญญาเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา" (Vienna Convention on the Law of Treaties 1969)

Download คลิกที่นี่

The Statue of International Court of Justice (ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)

The Statue of International Court of Justice (ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)
(ให้ดู Article ที่ 38 ที่กำหนดที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ)
Download คลิกที่นี่

คำอธิบาย Article 38 เรื่องบ่อเกิดหรือที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ

คำอธิบาย Article 38 เรื่องที่มา หรือบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ

บ่อเกิด หรือที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ
เมื่อกล่าว ถึงบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศในทางเนื้อหา (Material sources of international law) เป็นสำคัญ ในลักษณะที่เป็น “หลักฐาน” (evidence) อันแสดงถึงการมีอยู่ของกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับและถือ ปฏิบัติของรัฐต่างๆ
บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศใน ทางเนื้อหาประเภทต่างๆนั้น ปรากฏอยู่ใน Article 38 of the Statue of International Court of Justice ดังนี้

1. ศาล ซึ่งมีหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเช่นที่เสนอต่อศาลตามกฎหมาย ระหว่างประเทศจะต้องใช้
(ก) อนุสัญญาระหว่างประเทศไม่ว่าทั่วไปหรือโดยเฉพาะซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์อันเป็นที่ รับรองโดยชัดแจ้งโดยรัฐคู่กรณี
(ข) จารีตประเพณีระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นหลักฐานแห่งการถือปฏิบัติโดยทั่วไป ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมาย
(ฃ) หลักกฎหมายทั่วไปซึ่งอารยประเทศรับรอง
(ค) ภายใต้บังคับแห่งข้อบทของข้อ 59 คำพิพากษาของศาลและคำสอนของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างสูง (highly qualified publicists) ของประเทศ ต่างๆ ในฐานะที่เป็นเครื่องช่วยในการพิจารณากำหนดหลักกฎหมาย
2. ข้อบทนี้ไม่ กระทบกระเทือนต่ออำนาจของศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยอาศัยหลักความ ยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (ex aequo et bono) หากคู่ความตกลงตามนั้น

จะเห็นได้ว่า กฎเกณฑ์ในทางระหว่างประเทศที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะนำมาใช้ในการ วินิจฉัยข้อพิพาทประกอบด้วยกฎเกณฑ์ 2 ประเภทกล่าวคือ
(1) กฎเกณฑ์ที่มีลักกษณะเป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศในทาง เนื้อหาโดยตรง ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณีระหว่างประเทศและ หลักกฎหมายทั่วไป
(2) แนวทางหรือสิ่งที่จะช่วยให้ศาลสามารถพิจารณากำหนดกฎเกณฑ์อันจะ เป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศที่ศาลจะนำมาใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อ พิพาทต่อไป เช่น คำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศและคำสอนของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างสูง

อนุสัญญาเกี่ยวกับการควบคุมการเดินอากาศ (Paris Convention) ค.ศ. 1914

อนุสัญญาเกี่ยวกับการควบคุมการเดินอากาศ (Paris Convention) ค.ศ. 1914 (ฉบับแปล ภาษาไทยทั้งฉบับ)
Download คลิกที่นี่

อนุสัญญา ชิคาโก้ (Chicago Convention) ค.ศ. 1944

อนุสัญญา ชิคาโก้ (อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ) ค.ศ. 1944
Download คลิกที่นี่

กฎหมายปกครอง

กฎหมายปกครอง เป็น กฎหมายมหาชน กฎหมายมหาชน เป็น กฎหมายกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน ในฐานนะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ปกครองมีอำนาจเหนือเอกชน หรือระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง

กฎหมาย ปกครอง จึงเป็น กฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารของรัฐ การดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดบริการสารธารณะ และวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน และฝ่ายปกครองด้วยกันเอง รวมทั้งกำหนดสถานะและการกระทำทางปกครอง

ใน ระบบการปกครองประเทศแบ่งองค์กรที่ใช้อำนาจเป็น 3 ฝ่าย

- ฝ่ายนิติบัญญัติ
- ฝ่ายบริหาร
- ฝ่ายตุลาการ

ฝ่ายปกครองเป็น ส่วนหนึ่งที่อยู่ในฝ่ายบริหาร งานของฝ่ายบริหารแยกเป็น 2 ส่วน คือ

1. งานทางการเมือง มีพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจผ่านทางคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นรัฐบาล ทำหน้าที่กำหนดนโยบายในการใช้ ข้อบังคับกฎหมายต่างๆ
2. งานทางปกครอง เป็นส่วนที่เรียกว่า ราชการประจำ มีหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายที่ฝ่ายบริหารในส่วนที่เป็นการเมืองกำหนด ขึ้น คือ
- ราชการส่วนกลาง คือ กระทรวง ทบวง กรม
- ราชการส่วนภูมิภาค คือ จังหวัด อำเภอ
- ราชการส่วนท้องถิ่น มี 2 รูปแบบ
1. รูปแบบทั่วไป คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล

2. รูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานคร พัทยา

- รัฐวิสาหกิจ

- องค์กรอิสระ เป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรที่อิสระจากการควบคุมของฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)โดยตรง เนื่องจากภารกิจของหน่วยงาน เช่นธนาคารแห่งประเทศไทย

- คณะกรรมการต่างๆ

แนวคิดพื้นฐานของกฎหมายปกครอง คือ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ

1. รัฐโดยองค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้ดูแลรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของคนหมู่มากในสังคมหรือประโยชน์สาธารณะ
2. ในกรณีที่ประโยชน์ส่วนตัวของเอกชนสอดคล้องกับประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ สาธารณะ รัฐก็ใช้นิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนได้
3. ในกรณีที่ประโยชน์ส่วนตัวของเอกชนไม่สอดคล้องกับประโยชน์สาธารณะจะต้องให้ ประโยชน์สาธารณะอยู่เหนือประโยชน์ส่วนตัวของเอกชน
4. ถ้าเอกชนไม่ยินยอมที่จะสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็จะต้องให้รัฐโดยองค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอำนาจบังคับเอกชนเพื่อประโยชน์สาธารณะได้
กิจกรรมของฝ่ายปกครอง แบ่งเป็น

1. การกระทำทางแพ่ง คือ สัญญาทางแพ่ง เช่นองค์กรของรัฐซื้อคอมพิวเตอร์
2. การกระทำทางปกครอง คือ ผลิตผลของการใช้อำนาจรัฐตามกฎหมายขององค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง
การกระทำทางปกครอง แบ่งเป็น

1. นิติกรรมทางปกครอง
2. ปฏิบัติการทางปกครอง
นิติกรรมทางปกครอง

1. นิติกรรมฝ่ายเดียว คือ กฎ
คำสั่งทางปกครอง

2. นิติกรรมหลายฝ่าย คือ สัญญาทางปกครอง

ลักษณะของนิติกรรมทางปกครอง

1. เป็นการกระทำขององค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง ที่กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ เพื่อแสดง
เจตนาให้ปรากฏต่อ บุคคล

2. เจตนาที่แสดงออกมานั้น ต้องมุ่งหมายที่จะให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น เช่น ถ้าหน่วยงานราชการมีหนังสือ เตือน ให้คุณมาต่อใบอนุญาต แบบนี้ไม่เป็นนิติกรรมทางปกครอง เพราะไม่ได้มุ่งให้เกิดผลทางกฎหมาย คุณจะต่อหรือไม่ต่อก็เรื่องของคุณ
3. ผลทางกฎหมายที่มุ่งหมายให้เกิดขึ้น คือ การสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งมีอำนาจ หรือสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำ หรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ถ้าอธิบดีกรมการปกครองอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน 2535 ออกคำสั่งแต่งตั้งบุคคลให้เป็นปลัดอำเภอ เท่านี้ก็เกิดนิติสัมพันธ์แล้ว ระหว่างอธิบดีกรมการปกครองกับบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดอำเภอ ถือว่าเป็นการก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกัน หรือ ถ้าคู่กรณีเดิมปลัดอำเภอทำความผิดร้ายแรง อธิบดีกรมการปกครองไล่ออก ผลทางกฎหมาย คือ ระงับสิ้นสุดสิทธิและหน้าที่ต่อกัน ถึงแม้จะเป็นการระงับ แต่ผลทางกฎหมายก็เกิดขึ้น คือ สิทธิและหน้าที่ของอีกฝ่ายสิ้นสุดลง
4. นิติสัมพันธ์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขององค์กรของรัฐหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่จำเป็นต้องให้ความยินยอม ถ้าเมื่อไหร่ที่มีการแสดงเจตนาทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อนั้นจะไม่ใช่นิติกรรมทางปกครอง แต่จะแปรสภาพเป็น สัญญาทางปกครอง เช่น ก.ไปยื่นคำขอพกอาวุธปืน ในทางปกครองถือว่าการยื่นคำขอไม่ใช่คำเสนอ และเมื่อฝ่ายปกครองอนุญาตก็ไม่ใช่คำสนอง การที่มีขั้นตอนยื่นคำขอเข้าไปก่อน เรียกว่า เงื่อนไขความสมบูรณ์ของนิติกรรมทางปกครอง เป็นเงื่อนไขว่าถ้าไม่ทำตามขั้นตอนเช่นนี้นิติกรรมทางปกครองก็ไม่สมบูรณ์ เมื่อขาดลักษณะใดลักษณะหนึ่งของนิติกรรมทางปกครองก็จะกลายเป็นปฏิบัติการทาง ปกครอง
ประเภทของนิติกรรมทางปกครอง

กฎ เป็นบทบัญญัติที่มีผลเป็นการบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ เช่นพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ

คำสั่งทางปกครอง เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว ที่มีผลบังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

เงื่อนไขความ สมบูรณ์ของนิติกรรมทางปกครอง

1. อำนาจ เจ้าหน้าที่ที่ทำนิติกรรมต้องมีอำนาจ เป็นอำนาจที่กฎหมายให้มา
2. แบบและขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญของการทำนิติกรรมทางปกครอง เพราะถ้าไม่ใช่สาระสำคัญก็จะไม่กระทบต่อความสมบูรณ์ของนิติกรรมทางปกครอง เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 3618/2535
3. วัตถุประสงค์ นิติกรรมทางปกครองต้องมีวัตถุประสงค์ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ การใช้อำนาจรัฐต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ การกระทำของฝ่ายปกครองก็ต้องไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์ที่กฎหมายเฉพาะกำหนดถือ ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
4. ไม่บกพร่องเรื่องเจตนา จะต้องไม่เกิดจากการถูกฉ้อฉล ไม่สำคัญผิดหรือไม่ถูกข่มขู่ เช่น ผู้ขอสัมปทานร่วมกับเจ้าหน้าที่ระดับล่างบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ พื้นที่ หัวหน้าหลงเชื่อก็สั่งการไป ก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
5. เงื่อนไขอื่นๆ เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น พระราชบัญญัติสถานบริการ มาตรา 21 วรรค 2 ว่าการสั่งพักใบอนุญาตสั่งได้ครั้งละ 30 วัน เพราะฉะนั้นจะสั่งพักใบอนุญาตในระยะเวลาที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้
กิจการ ที่ฝ่ายปกครองที่เป็นการกระทำทางปกครอง มี 2 ด้าน

1. กิจการในทางควบคุม เป็นการวางกฎเกณฑ์และบังคับให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์เพื่อความมั่นคง เพื่อการจัดการเรียบร้อย เป็นการที่ฝ่ายปกครองใช้อำนาจฝ่ายเดียวที่จะกำหนดให้ฝ่ายเอกชนต้องปฏิบัติ ตาม และบังคับให้ฝ่ายเอกชนที่ฝ่าฝืนต้องปฏิบัติตาม เช่น เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มีอำนาจออกระเบียบ ห้ามสร้างอาคารสูงเท่านั้นเท่านี้ เมื่อมีการฝ่าฝืนเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีอำนาจก็บังคับ โดยเข้ารื้อถอนอาคาร การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ออกระเบียบ เป็นนิติกรรมทางปกครองประเภทกฎ เพราะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป การที่เจ้าพนักงานไปรื้ออาคารที่สร้างฝ่าฝืนเป็นการปฏิบัติการทางปกครอง
2. กิจการในทางบริการ เช่น
- กิจกรรมเพื่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน เช่น การป้องกันประเทศ
- กิจการเพื่อความสงบเรียบร้อย เช่น การสาธารณสุข การศึกษา
- กิจการเพื่อความสะดวกสบายของประชาชน เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน โทรศัพท์ สัญญาจ้างก่อสร้างถนน วางท่อประปา เป็นสาธารณูปโภคอย่างหนึ่ง และเป็นไปเพื่อสาธารณประโยชน์

ศาลรัฐธรรมนูญ

Download คลิกที่นี่