---------------------------------------------------------------------------------------------------------

Power Point ประกอบการบรรยาย วิชา LAW 112 กฎหมายธุรกิจ (เรื่องเช่าทรัพย์)

Download คลิกที่นี่

ตัวอย่าง คำพิพากษาฏีกา "เช่าทรัพย์" (2)

Download คลิกที่นี่

ตัวอย่าง คำพิพากษาฏีกา "เช่าทรัพย์" (1)

Download คลิกที่นี่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะเช่าทรัพย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะเช่าทรัพย์
Download คลิกที่นี่

ฏีกา ข้อแตกต่างระหว่างเช่าทรัพย์และฝากทรัพย์

คำพิพากษาฎีกา (ในข้อแตกต่างระหว่างเช่าทรัพย์ และ ฝากทรัพย์)

คำพิพากษาฎีกาที่ 1621/2534 จำเลยยินยอมให้ลูกค้านำรถยนต์มาจอดในบริเวณที่ว่างในสถานีบริการน้ำมัน ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่ถ้านำรถยนต์ออกไปจากที่จอดหลังเวลา 6 นาฬิกาจะต้องเสียเงินคันละ 10 บาท การ นำรถยนต์มาจอด ล็อคประตูแล้วเก็บกุญแจไว้เองมิได้ส่งมอบให้พนักงานของจำเลยการครอบครองรถยนต์ระหว่างที่จอดยังอยู่ในความครองของ ส. แม้จะมีการเก็บเงินค่าจอดหรือค่าบริการก็ไม่เป็นการฝากทรัพย์

คำพิพากษาฎีกาที่ 7287/2539 ด. และ ห. นำรถยนต์เข้าไปจอดในบริเวณที่จอด โดยได้ชำระเงินค่าจอดให้พนักงานของจำเลยทั้งสอง และได้รับใบรับซึ่งมีข้อความว่าบัตรจอดรถ โดย ด. และ ห. ยังคงเก็บกุญแจรถไว้เองแล้วออกไปจากบริเวณที่จอดรถดังกล่าว ยังไม่พอฟังว่าเป็นการส่งมอบรถยนต์ให้แก่จำเลยทั้งสอง อันจะทำให้จำเลยทั้งสองอยู่ในฐานะผู้รับฝากทรัพย์มีบำเหน็จ เมื่อรถยนต์สูญหายไป จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชอบใช้ค่าเสียหาย ข้อสังเกต ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1621/2534 และ 7287/2539 เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์รถยนต์เข้าไปจอด แต่เก็บกุญแจรถยนต์ไว้เอง ยังไม่พอฟังว่าได้มอบรถยนต์ไว้ในอารักขาของจำเลย ดูคำพิพากษาฎีกาต่อไปนี้ เจ้าของรถยนต์ได้มอบกุญแจรถยนต์แก่พนักงานของจำเลยไว้ถอยเข้าออกศาล ฎีกาถือว่าเป็นการฝากทรัพย์แล้ว(ดูฎีกาที่ 925/2536)


คำพิพากษาฎีกาที่ 925/2536 การที่จำเลยที่ 1 จัดบริการให้แก่ลูกค้าซึ่งไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคารของจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 2 ต้อนรับ เอากุญแจรถยนต์ขับรถยนต์ขับรถยนต์เข้าที่จอดและเคลื่อนย้ายรถยนต์หากมีรถยนต์คันอื่นเข้าออกในบริเวณภัตตาคาร ออกใบรับที่จดหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรับกุญแจรถยนต์ของลูกค้าเก็บไว้ การที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการฝากทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 657
คำพิพากษาฎีกาที่ 4235/2541 โจทก์นำรถยนต์ไปฝากไว้กับจำเลย จำเลยเรียกเก็บค่าฝากเป็นรายเดือน มีระเบียบว่าเจ้าของรถต้องฝากกุญแจรถไว้กับจำเลยเลื่อนรถได้ในกรณีที่มีรถอื่นเข้ามาจอด ซึ่งโจทก์ก็ได้มอบกุญแจรถให้จำเลยทุกครั้งที่มาจอด พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการรับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ หาใช่เป็นเรื่องให้เช่าสถานที่จอดรถไม่

ความแตกต่าง ในสัญญาเช่าซื้อ เช่าทรัพย์ ขายฝาก ซื้อขาย

เช่าซื้อ ชื่อก็บอก ว่าเป็นสัญญาเช่า + ซื้อ ความหมายก็คือว่า เป็นสัญญาที่ผู้ให้เช่าซื้อ ตกลง จะให้ผู้เช่าซื้อ ได้กรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อ เมื่อได้ชำระค่าเช่าซื้อ เท่านั้นเท่านี้คราว ตามที่กำหนดกัน

เช่าทรัพย์ หมายถึง สัญญาที่ผู้ให้เช่า ให้ผู้เช่า ได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่า มีระยะเวลากำหนด และผู้เช่า ตกลงจะชำระค่าเช่า อันนี้ ไม่ว่าจะเช่ากันนานเท่าใด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงนะครับ

ขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ซื้อ ให้สิทธิแก่ผู้ขาย สามารถใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ที่ซื้อขายนั้นได้ คือ ซื้อขายกันและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ โอนไปยังผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว แต่มีเงื่อนไขคือ ผู้ขาย มีสิทธิ์ ซื้อทรัพย์ที่ขายนั้น คืนได้ ภายในเวลาที่กำหนด

สัญญาซื้อขาย ก็ง่ายๆ คือ ผู้ขาย ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขาย ให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อ ตกลง ชำระราคาให้ผู้ขาย ซึ่งสัญญาซื้อขายนี้ กรรมสิทธิ์จะโอนไปทันที ที่มีการตกลงซื้อขายกัน

หากจะพิจารณาความแตกต่างหลักๆ ของ 4 สัญญานี้ ให้ดูที่เรื่องของ กรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินแห่งสัญญา

บทความเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะซื้อขาย (อ่านเสริม)

เอกสารอ่านประกอบ (เสริม)กฎหมายธุรกิจ LAW 112 "สัญญา"
หลักกฎหมาย ภาษาลาติน "Pacta Sunt Servanda" สัญญาต้องเป็นสัญญา
Download คลิกที่นี่

Power Point ประกอบการบรรยาย วิชา LAW 112 กฎหมายธุรกิจ (ซื้อขาย)

Power Point วิชา กฎหมายธุรกิจ LAW 112 เรื่อง ซื้อขาย สำหรับระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน
Download คลิกที่นี่

Hand Out (เอกสารประกอบ เสริม วิชา LAW 112 กฎหมายธุรกิจ)

เอกสารประกอบการสอย Hand Out (อ่านเสริม) เรื่องลักษณะทั่วไปของสัญญา)
Download คลิกที่นี่

หัวข้อการบ้านสำหรับวิชา LAW 112 กฎหมายธุรกิจ

การบ้านครั้งที่ 1 สำหรับวิชา LAW 112 กฎหมายธุรกิจ (ภาค 2/53)

๑. สัญญา คืออะไรและมีสาระสำคัญอย่างไรบ้าง ? จงอธิบาย

๒. หลักเสรีภาพในการทำเสรีภาพ คืออะไร ? และมีข้อจำกัดหลักเสรีภาพในการทำสัญญาอย่างไรบ้าง ? จงอธิบาย

๓. องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญามีอะไรบ้าง ? จงอธิบาย

๔. คำเสนอ คืออะไรและมีลักษณะอย่างไรบ้าง ? จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

๕. จงอธิบายผลของคำเสนอ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

๖. คำสนอง คืออะไรและมีลักษณะสำคัญอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

๗. จงอธิบายผลของคำสนอง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

๘. คำสนองจะกลายเป็นคำเสนอ ขึ้นใหม่ได้อย่างไร จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

๙. สัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า สัญญาจะเกิดขึ้นเมื่อใด จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

๑๐. สัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางจะเกิดเป็นสัญญาเมื่อใด จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ