---------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปแบบความร่วมมือของภาคธุรกิจ (บ่อเกิดแห่งสัญญา)

รูปแบบความร่วมมือของภาคธุรกิจ
• พันธมิตรแบบเซ็นสัญญา (Contractual Agreement) เป็น ความร่วมมือระหว่าง 2 องค์กรขึ้นไปที่เซ็นสัญญาเพื่อร่วมมือในกิจกรรมทางธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคโนโลยี การรวมทรัพยากรและทักษะการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เกิดการลดต้นทุน เป็นต้น โดยการทำพันธมิตรแบบนี้สามารถทำได้ในหลายรูปแบบอาทิ ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขายและโฆษณา การวิจัยและพัฒนา การจัดซื้อ ธุรกิจประเภทนี้จะมีความผูกพันกันน้อย เนื่องจากยังคงเป็นองค์กรที่ดำเนินการอย่างอิสระไม่ขึ้นต่อกัน จะร่วมมือกันเฉพาะประเด็นที่ได้มีการตกลงกันไว้ในสัญญาเท่านั้น ตัวอย่างพันธมิตรรูปแบบนี้ อาทิ Star alliances พันธมิตรธุรกิจการบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมมือโดยการเซ็นสัญญากับสายการบินพันธมิตรในการร่วมกันกำหนดเครือข่าย การให้บริการทั่วทุกภูมิภาค หรือกรณีของบริษัท แมคโดนัลด์แถมของเล่นจากบริษัทดิสนีย์ให้กับลูกค้าที่ซื้อแฮมเบอร์เกอร์ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มบำรุงกำลัง “ คาราบาวแดง ” ที่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจได้ตัดสินใจที่จะเป็นพันธมิตรธุรกิจกับบริษัทเสริม สุข จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่ม “ เป๊ปซี่ ” ในการทำแผนการขายร่วมกัน และมีช่องทางการจัดจำหน่ายมากมายที่จะช่วยให้คาราบาวแดงเป็นที่รู้จักและติด ตลาดได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
• พันธมิตรแบบเข้ามาถือหุ้นระหว่างกัน (Minority Equity Agreement) เป็น ลักษณะที่ธุรกิจมีความร่วมมือกันด้านทุนในการประกอบธุรกิจ เช่น การถือหรือแลกเปลี่ยนหุ้นระหว่างกัน การกำหนดราคาหุ้นของบริษัทแล้วให้บริษัทพันธมิตรเข้ามาซื้อหุ้นในราคาต่ำ กว่าราคาตลาด ซึ่งจะทำให้แต่ละบริษัทมีสิทธิในส่วนแบ่งกำไรของบริษัทพันธมิตร เป็นการลดปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ของแต่ละบริษัท และสามารถนำไปสู่ความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น ตลาด เทคโนโลยี การเงิน และการจัดซื้อ เป็นต้น วิธีนี้จะมีความร่วมมือที่เหนียวแน่นมากกว่าการเซ็นสัญญา เนื่องจากมีเรื่องของเงินทุนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
• พันธมิตรแบบธุรกิจร่วมทุน (Joint Venture) จะแตกต่างจากพันธมิตรแบบเข้ามาถือหุ้นระหว่างกัน เพราะพันธมิตรแบบธุรกิจร่วมทุนเป็นการร่วมทุนในการจัดตั้งองค์กรใหม่ร่วมกัน ซึ่งมีการดำเนินงานที่แยกจากธุรกิจหรือองค์กรเดิมที่แต่ละฝ่ายมีอยู่แล้ว เช่น บริษัท A ร่วมทุนกับบริษัท B เพื่อจัดตั้งบริษัท C สำหรับดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามวัตถุประสงค์ร่วมกันระหว่าง A และ B ในการทำธุรกิจร่วมทุนนี้ แต่ละบริษัทพันธมิตรเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารงานของบริษัท C โดยมีการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของแต่ละบริษัทพันธมิตรอย่างชัดเจน ซึ่งขึ้นอยู่กับการต่อรองของแต่ละฝ่าย วิธีการนี้นับได้ว่าได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากมีความคล่องตัว และอิสระทั้งในแง่นโยบายและการดำเนินงาน
• พันธมิตรแบบธุรกิจร่วม (Business Cooperation) เป็นความร่วมมือทางธุรกิจ มีความแตกต่างจากแบบแรกหรือแบบที่เรียกว่า ”แบบเซ็นสัญญา” (Contractual Agreement) กล่าวคือ องค์กรที่มีความร่วมมือกันนั้น เป็นองค์กรที่อยู่ใน ภาคธุรกิจเดียวกัน (SIC/Standard Industrial Code) โดยสามารถทำความร่วมมือได้ สองลักษณะคือ
o Exclusive Agreement สัญญาความร่วมมือโดยการใช้ชื่อเดียวกับองค์กรความร่วมมือหลัก ทั้งนี้ลักษณะความร่วมมือนี้ อำนาจการจัดการส่วนใหญ่ในเรื่องนโยบายจะอยู่ที่บริษัทแม่ ที่เป็นเจ้าของชื่อ ซึ่งในกรณีนี้จะมีลักษณะคล้ายกับความร่วมมือในแบบ “ใบอนุญาต” (Licensing) เพราะผู้ใช้ชื่อบริษัทแม่จะต้องจ่ายค่า อนุญาต ซึ่งเรียกว่า “Loyalty Fee”
o Non-exclusive Agreement เป็นสัญญาความร่วมมือ โดยเป็นเอกเทศจากบริษัทแม่ที่ร่วมมือด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นชื่อในทางการค้าก็ดี ความเป็นอิสระในองค์กรก็ดี อีกนัยหนึ่งคือเป็นคนละองค์กรนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น: