---------------------------------------------------------------------------------------------------------

บันทึกความเข้าใจ / MOU (Memorandum of Understanding)

จากกองธรรมศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน นฤมล บุญแต่ง นักวรรณศิลป์ 7 ว ให้คำอธิบายว่า บันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอฃยู (MOU-Memorandum Of Understanding) เป็นหนังสือซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด และตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง
โดยที่หนังสือ นี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้ เช่น สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทำบันทึกความเข้าใจกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา

ขณะ ที่ บันทึกข้อตกลง (Memorandum Of Agreement) อันเป็นหนังสือหรือสัญญา ซึ่งมีข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้อง ปฏิบัติหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นข้อกติกา ข้อที่นัดหมายกันไว้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จึงมีใช้ได้ทั้ง 2 คำ แต่จะใช้บันทึกความเข้าใจมากกว่า เช่น MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยกับส่วนราชการ ในการแลกเปลี่ยนวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการฟ้องละเมิดกันจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ในฐานะอาจเป็นสัญญาได้ ส่วนสัญญานั้น นักกฎหมายต่างทราบดีอยู่แล้วว่า

เป็นทางการมากกว่า มีสภาพบังคับ และมีผลตามกฎหมายที่ต้องการให้เป็นไปแต่ละเรื่อง

ใน ทางการทูต บันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู เป็นส่วนหนึ่งของ สนธิสัญญา (treaty) ซึ่งสนธิสัญญาเป็นคำที่มีความหมายทั่วไป โดยอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป อาทิ ความตกลง (agreement) ข้อตกลง (arrangement) บันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding) บันทึกความตกลง (memorandum of agreement) พิธีสาร (protocol) อนุสัญญา (Convention) ฯลฯ อย่างไรก็ดี ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม หากเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ถือเป็นสนธิสัญญาทั้งสิ้น

การเรียกชื่อสนธิสัญญาต่างๆ กัน มีเหตุผลหลายประการ อาทิ เป็นทางปฏิบัติของบางประเทศ หรือกลุ่มประเทศ ที่จะแบ่งกลุ่มสนธิสัญญาตามความสำคัญ หรือเพื่อที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาขั้นตอนการทำสนธิสัญญาในลักษณะที่ แตกต่างกันตามกระบวนการกฎหมายภายใน เช่น หากเรียกชื่อเป็นบันทึกความเข้าใจ ก็อาจไม่จำเป็นต้องเสนอต่อรัฐสภา แต่หากเรียกชื่อว่าสนธิสัญญา หรือความตกลง ต้องผ่านกระบวนการให้ความเห็นชอบของรัฐสภา เป็นต้น ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญน่าจะเป็นเรื่องความสะดวก หรือหลีกเลี่ยงปัญหาการอภิปรายทางการเมือง

สำหรับประเทศไทย ไม่ยึดถือแนวปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น แต่จะพิจารณาเนื้อหาสาระและพันธกรณีที่จะมีขึ้นเป็นสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น: