---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลำดับ ศักดิ์กฎหมาย

กฎหมายมีลำดับศักดิ์สูงต่ำเสมือนสายบัญชาการ โดยกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าย่อมเสมือนเป็นบ่อเกิดของอำนาจในกฎหมาย ลำดับรองลงมา โดยที่

1. กฎหมายที่ลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้ง จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าไม่ได้

2. กฎหมาย ที่ลำดับศักดิ์เท่ากันสามารถขัดหรือแย้ง แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากันได้ ทั้งนี้การขัดหรือแย้งกันของกฎหมายให้ถือเอากฎหมายฉบับล่าสุดมีผลบังคับใช้

3. กฎหมาย ที่ลำดับศักดิ์สูงกว่าสามารถยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม หรือขัดแย้งกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าได้ โดยกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่ามีอันตกไป ถ้าขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า

ลำดับศักดิ์กฎหมาย สามารถเรียงได้ดังนี้

1.รัฐธรรมนูญ( เรียกว่ารัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่มีคำว่ากฎหมายขึ้นหน้ารัฐธรรมนูญ )
คือกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งได้กำหนดการจัดระบบการปกครองของประเทศ และรับรองสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนหรือพลเมืองเอาไว้ อาจกล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายต่างๆที่บัญญัติขึ้นต้องใช้รัฐธรรมนูญเป็นกรอบหรือแนวทาง นั่นหมายความว่าการพัฒนาการของรัฐจะต้องเป็นไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐ ธรรมนูญ
เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ดังนั้น กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ กฎหมายใดที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญถือว่าใช้ไม่ได้ หรือไม่มีผลบังคับใช้

2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญคือกฎหมายที่เป็นเรื่องสำคัญของรัฐธรรมนูญแต่ไม่ สามารถบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจึงต่างออกไปจากพระราชบัญญัติทั่วไปเนื่องจาก เป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญให้ความสำคัญและไม่สามารถบัญญัติรายละเอียด ในประเทศฝรั่งเศส พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลำดับศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป (แต่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ) เนื่องจากมีกระบวนการตราที่ต่างออกไป ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ได้วางหลักการเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลำดับศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติ ทั่วไป

ข้อสังเกต ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 นั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกับพระราชบัญญัติทั่วไปมีลำดับศักดิ์เท่ากัน เนื่องจากมีกระบวนการตราที่เหมือนกัน สามารถดูรายละเอียดและศึกษาเพิ่มเติมที่ คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ 2-5/2550

3.พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด (อยู่ลำดับเดียวกัน)

3.1.การตราพระราชบัญญัติ
ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา โดยต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา

1.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาโดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ คือ
วาระที่ 1 รับหลักการ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเฉพาะ หลักการของร่างพระราชบัญญัติว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง มีความเหมาะสม จำเป็นหรือไม่ โดยไม่พิจารณารายละเอียดอื่น ๆ แล้วลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ถ้าไม่รับหลักการก็ตกไป ถ้ารับหลักการก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณารายละเอียด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนมีสิทธิเสนอขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ต่อประธานคณะกรรมาธิการ เรียกว่า แปรญัตติ
วาระที่ 2 แปรญัตติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ที่มีการขอแปรญัตติ และลงมติเฉพาะมาตรานั้นว่าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ หรือคงไว้ตามเดิม
วาระที่ 3 ลงมติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมใด ๆ อีกไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชอบก็ตกไป ถ้าเห็นชอบด้วยก็ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
2.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมา โดยแบ่งออกเป็น 3วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร และโดยปกติแล้วจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน
ถ้าวุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไป ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิม ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความ เห็นชอบจากรัฐสภา

การตราร่างพระราชบัญญัติ
เมื่อร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการร่างพระราชบัญญัติที่พระ มหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยีนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้นายรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้า ฯ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

ข้อ สังเกต: ประมวลกฎหมายคืออะไร
ประมวลกฎหมายคือการรวบรวมกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ตราขึ้นใช้บังคับ มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกัน คล้ายกันหรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มีจำนวนหลายฉบับ จึงได้รวบรวมกฎหมายเหล่านี้ มาจัดเป็นหมวดหมู่ เป็นเรื่องเดียวกัน มีข้อความหรือบทบัญญัติเกี่ยวเนื่องต่อกันอย่างเป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการนำมาศึกษา ค้นคว้า นำมาใช้นำมาปรับปรุงแก้ไข ง่ายต่อการตีความวินิจฉัยในการตัดสินคดีความ

3.2.การตราพระ ราชกำหนด (พ.ร.ก.)
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจบริหาร ให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ การตราพระราชกำหนดในกรณีดังกล่าว ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบ ด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
แต่คณะรัฐมนตรีต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า (เพราะสถานะที่แท้จริงของพระราชกำหนดคือพระราชบัญญัติ ดังนั้นกระบวนการตรากฎหมายดังกล่าวต้องผ่านองค์กรที่มีอำนาจเท่านั้น นั่นก็คือรัฐสภา) ดังนั้นต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาผู้แทนฯ อีกครั้ง เพื่อให้สภาผู้แทนฯ พิจารณาว่าจะอนุมัติพระราชกำหนดให้มีผลบังคับได้เทียบเท่าพระราชบัญญัติต่อ ไปหรือไม่ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือ สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการ อนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มี อยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนด นั้น
ข้อสังเกต
ตามมาตรา 185 รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2550 ได้วางหลักการว่า การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลจะต้องถูกตรวจสอบโดยเคร่งครัดจากศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่ตามอำเภอใจของรัฐบาลอีกต่อไป ซึ่งมีสาระดังนี้
ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนดใด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกำหนด นั้นไม่มีกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่เป็นกรณีที่รัฐบาลต้องการตราพระราชกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของ รัฐสภา ประธานแห่งสภานั้นส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับความเห็นเพื่อวินิจฉัย
หากศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญทั้งหมด เห็นว่าพระราชกำหนดดังกล่าวนั้น รัฐบาลต้องการตราพระราชกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของรัฐสภาจริง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น

4.พระราชกฤษฎีกา
คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและมีนายก รัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยแบ่งเป็น 2ประเภท
ประเภทแรกคือพระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดเนื้อหาของกฎหมายในราย ละเอียด พระราชกฤษฎีกาในลักษณะนี้จะออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือพระราช กำหนด เช่น พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสหการซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เป็นต้น
พระราชกฤษฎีกาอีกประเภทหนึ่ง คือ พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะเป็นพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดระเบียบการบริหารราชการหรือแบบพิธี บางอย่าง หรือเรื่องที่สำคัญบางเรื่องตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

5.กฎกระทรวง
คือ กฎหมายลูกบทที่ออกโดยรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร)ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บท(พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกา)

6.กฎหมายองค์การบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบังคับตำบล เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: