---------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำอธิบาย Article 38 เรื่องบ่อเกิดหรือที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ

คำอธิบาย Article 38 เรื่องที่มา หรือบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ

บ่อเกิด หรือที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ
เมื่อกล่าว ถึงบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศในทางเนื้อหา (Material sources of international law) เป็นสำคัญ ในลักษณะที่เป็น “หลักฐาน” (evidence) อันแสดงถึงการมีอยู่ของกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับและถือ ปฏิบัติของรัฐต่างๆ
บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศใน ทางเนื้อหาประเภทต่างๆนั้น ปรากฏอยู่ใน Article 38 of the Statue of International Court of Justice ดังนี้

1. ศาล ซึ่งมีหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเช่นที่เสนอต่อศาลตามกฎหมาย ระหว่างประเทศจะต้องใช้
(ก) อนุสัญญาระหว่างประเทศไม่ว่าทั่วไปหรือโดยเฉพาะซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์อันเป็นที่ รับรองโดยชัดแจ้งโดยรัฐคู่กรณี
(ข) จารีตประเพณีระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นหลักฐานแห่งการถือปฏิบัติโดยทั่วไป ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมาย
(ฃ) หลักกฎหมายทั่วไปซึ่งอารยประเทศรับรอง
(ค) ภายใต้บังคับแห่งข้อบทของข้อ 59 คำพิพากษาของศาลและคำสอนของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างสูง (highly qualified publicists) ของประเทศ ต่างๆ ในฐานะที่เป็นเครื่องช่วยในการพิจารณากำหนดหลักกฎหมาย
2. ข้อบทนี้ไม่ กระทบกระเทือนต่ออำนาจของศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยอาศัยหลักความ ยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (ex aequo et bono) หากคู่ความตกลงตามนั้น

จะเห็นได้ว่า กฎเกณฑ์ในทางระหว่างประเทศที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะนำมาใช้ในการ วินิจฉัยข้อพิพาทประกอบด้วยกฎเกณฑ์ 2 ประเภทกล่าวคือ
(1) กฎเกณฑ์ที่มีลักกษณะเป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศในทาง เนื้อหาโดยตรง ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณีระหว่างประเทศและ หลักกฎหมายทั่วไป
(2) แนวทางหรือสิ่งที่จะช่วยให้ศาลสามารถพิจารณากำหนดกฎเกณฑ์อันจะ เป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศที่ศาลจะนำมาใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อ พิพาทต่อไป เช่น คำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศและคำสอนของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างสูง

ไม่มีความคิดเห็น: