---------------------------------------------------------------------------------------------------------

บรรทัดฐานทางสังคม

บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผนกฎเกณฑ์ข้อบังคับหรือมาตรฐานในการปฏิบัติของคนในสังคม เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ กฎ ระเบียบ แบบแผนความประพฤติต่าง ๆ.

ความสำคัญของบรรทัดฐานต่อการจัด ระเบียบทางสังคม คือ เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมและให้มีความเข้าใจร่วมกัน อันจะทำให้มีการประพฤติปฏิบัติในแนวเดียวกัน

ประเภทของบรรทัดฐานทาง สังคมสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท

1. วิถีชาวบ้านหรือวิถีประชา (Folkways)
เป็นแนวทางปฏิบัติของทุกคนจนเกิดความเคยชินจน กลายเป็นชีวิตปกติของมนุษย์ เป็นการปฏิบัติด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ ไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน เพียงแต่อาจจะถูกตำหนิเยาะเย้ยถากถาง หรือการนินทาจากผู้อื่นทำให้สมาชิกต้องปฏิบัติตามและวิถีประชาอาจจะมีการ เปลี่ยนแปลงได้ เพื่อปรับเหมาะกับยุคสมัยนั้นๆ เช่น มารยามในการแต่งกาย มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นต้น

2.จารีตประเพณี (Morals)
เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกตำหนิ ดูหมิ่นเหยียดหยามจากสังคม เช่น ชายและหญิงต้องเข้าพิธีมงคลสมรสตามประเพณี เป็นต้น จารีตประเพณีต่างกับวิถีประชาเพราะมีศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวด้วย มีข้อห้ามและข้อควรกระทำหากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกสังคมประณามอย่างรุนแรง กฎศีลธรรมมักเป็นข้อห้าม เป็นกฎข้อบังคับ และมีเรื่องของศีลธรรมความรับผิดชอบชั่วดีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมาก

ตัวอย่าง ของกฎศีลธรรมหรือจารีตของไทย เช่น ลูกจะด่าทอ หรือทำร้ายพ่อแม่ไม่ได้

3.กฎหมาย (Laws)
กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่รัฐบัญญัติขึ้นเป็น ลายลักษณ์อักษรโดยองค์การทางการเมืองการปกครองและได้รับการรับรองจากองค์การ ของรัฐ เพื่อควบคุมบุคคลในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับการลงโทษตามกฎหมาย ได้แก่ ระเบียบ ข้อบังคับ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติ หากผู้ใดฝ่าฝืน ตามปกติย่อมถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้

ไม่มีความคิดเห็น: