---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะเฉพาะของสนธิสัญญา ตามความหมายของ Vienna Convention on the Law of Treaties 1969

ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969 บัญญัติไว้ว่า สนธิสัญญา เป็นคำที่มีความหมายโดยทั่วไป (generic term) ไม่เฉพาะเจาะจง หมายความว่า สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบุคคลระหว่างประเทศ (รัฐ รัฐบาล และองค์การระหว่างประเทศ) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและพันธกรณีระหว่างกันภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ

สนธิสัญญาและความตกลงมักจะเป็นคำที่ใช้สลับหรือแทนกันได้ในความเข้าใจของบุคคลทั่วไป แต่ในทางของกฎหมายแล้ว การที่จะพิจารณาว่าตราสารระหว่างประเทศใดเป็นสนธิสัญญาหรือไม่ เราจะพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของสนธิสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนา สรุปได้ดังนี้

ผู้ทำสนธิสัญญาต้องเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ รัฐ รัฐบาล และองค์กรระหว่างประเทศ ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลตามกฎหมายภายในประเทศ ซึ่งบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศได้
สนธิสัญญาต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีการแสดงเจตนาและข้อผูกพันเรียบร้อย การกล่าวด้วยปากเปล่าไม่ถือเป็นสนธิสัญญา
ตราสารต้องก่อให้เกิดสิทธิและพันธกรณีระหว่างประเทศขึ้น ถ้าเป็นแค่ตราสารแสดงนโยบายไม่วาจะมีการลงนามหรือไม่ก็ตามไม่ถือเป็นสนธิสัญญา
สนธิสัญญาอาจเรียกชื่อว่าอะไรก็ได้ และอาจจะอยู่ในตราสารฉบับเดียว หรือหลายฉบับก็ได้ เช่นอาจจะมีการทำหนังสือแลกเปลี่ยนกัน เป็นจดหมายไปถึงประเทศหนึ่งว่าเราขอเสนออย่างนี้แล้วเขาก็ตอบกลับมา นี่ก็ถือเป็นสนธิสัญญาเหมือนกันซึ่งต้องพิจารณาจากเนื้อหาภายในตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

หากจะเปรียบเทียบกับสัญญาตามกฎหมายภายใน สัญญา หมายความว่า สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน ซึ่งตามกฎหมายไทย สัญญาอาจจะไม่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ แต่ก็มีสัญญาบางประเภทที่ต้อง ทำเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่บัญญัติเอาไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ไม่มีความคิดเห็น: