---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความเป็นมา ความหมาย และประเภทของสนธิสัญญา (Vienna Convention on the Law of Treaties 1969)

ความเป็นมาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา

กฎหมายว่าด้วยสนธิสัญญาเกิดจากแนวทางการปฏิบัติของรัฐเกี่ยวกับการจัดทำความตกลง ข้อตกลง และการเคารพข้อตกลงระหว่างกัน แนวทางปฏิบัตินี้ใช้กันแพร่หลายจนกลายเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (customary international law) และต่อมาได้มีการประมวลขึ้นเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969 ซึ่งมีลักษณะเป็นความตกลงระหว่างประเทศในรูปแปลายลักษณ์อักษร กระทำขึ้นโดยรัฐ และอยู่ในขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันกฎหมายจารีตประเพณีอื่นๆ ที่มิได้ระบุในอนุสัญญานี้ยังคงถือว่ามีผลใช้บังคับ


ความหมายของสนธิสัญญา

โดยทั่วไป สนธิสัญญา หมายถึง ความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมุ่งก่อให้เกิดสิทธิและพันธะทางกฎหมายแก่ภาคีของสนธิสัญญา และมักลงนามโดยประมุขของรัฐ (head of state) หรือประมุขของรัฐบาล (head of government) โดยมีการแปลต้นฉบับและมีการให้สัตยาบันสนธิสัญญาหรือการทำภาคยานุวัติ (accession) ระหว่างกัน


ประเภทของสนธิสัญญา

พิจารณาจากจำนวนประเทศที่เป็นภาคี (ประเทศคู่สัญญา)
สนธิสัญญาทวิภาคี (Bilateral treaty) หมายถึง สนธิสัญญาสองฝ่าย หรือสนธิสัญญาที่มีคู่ภาคี 2 ฝ่าย
สนธิสัญญาพหุภาคี (Mutilateral treaty) หมายถึง สนธิสัญญาที่มีผู้เข้าร่วมเจราจาหรือร่วมลงนามมากกว่า 2 ฝ่ายขึ้นไป

พิจารณาจากฐานะของผู้เข้าร่วมการทำสนธิสัญญา สนธิสัญญาที่ทำโดยประมุขของรัฐ ถือเป็นอัครภาคีผู้ทำสัญญา
สนธิสัญญาที่ทำโดยรัฐบาล เป็นสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาล
สนธิสัญญาที่ทำโดยรัฐ เป็นสนธิสัญญาที่มุ่งให้เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐ
สนธิสัญญาที่ทำโดยรัฐมนตรี
สนธิสัญญาที่ทำโดยหน่วยงานของรัฐบาล
สนธิสัญญาที่ทำโดยประมุขของรัฐบาล

พิจารณาจากชื่อที่ใช้เรียก สนธิสัญญา (Treaty) เป็นข้อตกลงสำคัญเป็นทางการที่กระทำโดยรัฐ มักเป็นความตกลงทางการเมือง
อนุสัญญา (Convention) ปกติใช้กับเอกสารทางความตกลงทางการที่มีลักษณะเป็นพหุภาคี หรือเอกสารความตกลงที่ร่างขึ้นโดยองค์การของสถาบันระหว่างประเทศ
พิธีสาร (protocal) เป็นความตกลงที่มีลักษณะเป็นทางการน้อยกว่าสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา และไม่ใช่ความตกลงที่กระทำโดยประมุขของรัฐ
ความตกลง (agreement) เป็นเอกสารที่มีลักษณะเป็นทางการน้อยกว่าสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา และไม่ได้กระทำโดยประมุขของรัฐ ปกติเราใช้ความตกลงในลักษณะที่มีขอบเขตจำกัด หรือมีลักษณะไม่ถาวร และมีภาคีน้อยกว่าภาคีในอนุสัญญาตามปกติ
บันทึกหรือหนังสือแลกเปลี่ยน เป็นวิธีที่ไม่เป็นทางการ โดยรัฐอาจจะแสดงเจตนารมณ์ว่ายอมรับพันธกรณีบางอย่าง
ข้อตกลง (arrangement) ใช้เรื่องความตกลงที่มีลักษณะชั่วคราวหรือเฉพาะกาล


ภาคีในสนธิสัญญาและรัฐที่ 3


ภาคีในสนธิสัญญา หมายถึง ผู้ที่เข้าร่วมการเจรจา ตกลง และลงนาม หรือให้สัตยาบันสนธิสัญญา ซึ่งเป็นการยอมรับพันธกรณีตามสนธิสัญญา โดยหลักการทั่วไป สนธิสัญญา่จะก่อการผูกพันหรือให้สิทธิแก่ฝ่ายที่ 3 โดยปราศจากความยินยอมของฝ่ายนั้นไม่ได้ ยกเว้น

สนธิสัญญาซึ่งภาคีตั้งใจให้สิทธิแก่รัฐที่ 3
สนธิสัญญาพหุภาคีซึ่งเป็นการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
สนธิสัญญาพหุภาคีที่สร้างกฎเกณฑ์ใหม่ๆ แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ
สนธิสัญญาพหุภาคีที่มุ่งให้ใช้ปฏิบัติทั่วไป
สนธิสัญญาซึ่งภาคีมุ่งให้เกิดพันธกรณีแก่รัฐที่ 3 โดยทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น: